ข่าวหลวงปู่เอี่ยม (เจ้าคุณเฒ่า) วัดหนังราชวรวิหาร พระเถราจารย์ผู้ทรงตบะบารมี อภิญญาจิตแก่กล้า - kachon.com

หลวงปู่เอี่ยม (เจ้าคุณเฒ่า) วัดหนังราชวรวิหาร พระเถราจารย์ผู้ทรงตบะบารมี อภิญญาจิตแก่กล้า
ประวัติพระเกจิอาจารย์

photodune-2043745-college-student-s

หลวงปู่เอี่ยม (เจ้าคุณเฒ่า) วัดหนังราชวรวิหาร พระเถราจารย์ผู้ทรงตบะบารมี อภิญญาจิตแก่กล้า

พระภาวนาโกศลเถระ เดิมชื่อ เอี่ยม เป็นชาวบางขุนเทียนโดยกำเนิด บ้านอยู่ริมคลองบางหว้า หลังวัดหนัง กำเนิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๙ ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีนามสกุลว่า “ทองอู๋” ชาวบ้านบางขุนเทียนเรียกกันว่า “หลวงพ่อปู่เฒ่า” ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป และนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย เรียกว่า “หลวงพ่อวัดหนัง”

โยมบิดามารดามีชื่อว่า นายทอง และนางอู่ ซึ่งเป็นต้นตระกูล “ทองอู๋” ในขณะนี้ โยมทั้งสองท่าน ประกอบอาชีพเป็นชาวสวนและมีฐานะมั่นคง เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ บุคคลชั้นหลังของตระกูลนี้ขอใช้นามสกุลว่า “ทองอู่” อันเป็นนามรวมของโยมทั้ง ๒ แต่ต่อมาไม่นานนัก ก็ได้มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทักท้วงว่าไปพ้องกับพระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์เข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น “ทองอู๋” สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

เครือญาติพี่น้องร่วมท้องเดียวกับพระภาวนาโกศลเถระ มีอยู่ด้วยกัน ๓ คนคือ โยมพี่สาวชื่อ นางเปี่ยม ทองอู๋ เป็นผู้รักษาศีลอุโบสถและไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว ดังนั้นเมื่อสิ้นโยมบิดามารดาแล้ว จึงมาฝากไว้ในความอุปการะของนายทรัพย์ ทองอู๋ บิดาของนายพูน ทองพูนกิจ ผู้เป็นบุตรผู้พี่ของพระภาวนาโกศลเถระ คือนายเอม ทองอู๋ พระภาวนาโกศลเถร (เอี่ยม สุวณฺณสโร)

การศึกษา
การศึกษาอักขร สมัยเมื่อพระภาวนาโกศลเถระ ยังเด็กอายุ ๙ ปี โยมทั้ง ๒ ของท่านได้นำมาฝาก เรียนหนังสือ ในสำนักพระครูธรรมถิดาญาณ หรือหลวงปู่รอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง ราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. ๒๓๘๗ ในสมัยต่อมา ได้เป็นพระอาจารย์ วิทยาคม ของพระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี ท่านได้ศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม ในสำนักพระมหายิ้ม วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อจากนั้น ได้ไปอยู่ในสำนัก พระปิฎกโกศล (ฉิม) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)

บรรพชา
ต่อมาท่านได้กลับมาบรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดหนัง ราชวรวิหาร สำนักเดิม ของท่าน อีกวาระหนึ่ง การศึกษาในระยะนี้ ดำเนินมาหลายปี ติดต่อกันจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อท่าน อายุได้ ๑๙ ปี จึงได้เข้าสอบ แปลพระปริยัติธรรมสนามหลวง ซึ่งสมัยนั้น ต้องเข้าสอบแปลปากเปล่า ต่อหน้าพระพักตร์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่น่าเสียดายที่ท่านสอบพลาดไป เลยลาสิกขาบท กลับไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพอยู่ระยะหนึ่ง

อุปสมบท
อาจจะเป็นด้วยบุญกุศลที่จะต้องเป็นสมณะเพศเพื่อพระศาสนา เพื่อการฟื้นฟูปฏิสังขรณ์สังฆาวาส เสนาสนะ แห่งวัดนี้ ให้ฟื้นฟูคืนจากสภาพอันเสื่อมโทรมขึ้นสู่ยุคอันรุ่งเรืองสูงสุด ในกาลสมัยต่อมา หรือเพื่อความเป็น พระเกจิอาจารย์ ชั้นเยี่ยมแห่งองค์พระกษัตราธิราชเจ้า และเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ของบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลาย ท่านจึง หันกลับเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้จากไปเพียง ๓ ปีเท่านั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านได้เข้ามาอุปสมบท ตามขนบจารีตอันดั้งเดิมของชาวไทย เพื่อสืบต่อพระบวรพุทธศาสนา และเพื่อแสดง กตเวทิตธรรม แด่โยมผู้บุพการีทั้งสอง ซึ่งได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง) อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (เขตจอมทอง กรุงเทพฯในปัจจุบัน)

พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามว่า “สุวณฺณสโร” พระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่เฒ่าได้ไปอยู่วัดนางนอง ตรงข้ามกับวัดหนังและได้เริ่มลงมือศึกษาคันถธุระต่อไป ณ สำนัก พระธรรมเจดีย์ (จีน) และพระสังวรวิมล (เหม็น) ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ได้เข้าสอบแปลพระปริยัติธรรม สนามหลวงอีกครั้ง แต่คงสอบไม่ได้อีกเช่นเคย เรื่องนี้ท่านต้องนั่งคุกเข่าประนมมือตลอดเวลา ที่แปลต่อหน้าพระคณาจารย์ผู้ใหญ่ พระมหาเถระผู้เป็นกรรมการองค์หนึ่งบอกกับท่านเมื่อแปลจบว่าแปลได้ดี แล้วก็ชวนท่านให้ไปอยู่ในสำนักเดียวกัน แต่ท่านปฏิเสธ

การศึกษาวิปัสสนาธุระและพุทธาคม
ปรากฏตามหลักฐานชัดเจนว่าท่านได้ศึกษาวิปัสสนาธุระ และพุทธาคม กับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เจ้าอาวาสวัดนางนอง ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านเอง จากการศึกษา ชีวประวัติของท่าน จะเห็นได้ว่า ท่านเจริญรอยตามพระอาจารย์รูปนี้มาโดยตลอด เช่นเดียวกับ พระพุฒาจารย์ (โต) เจริญรอยตามสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ผู้สร้างพระสมเด็จ “อรหัง” และพระสมเด็จฯ วัดพลับ เช่นในการที่ท่าน ได้สร้างพระปิดตา และพระปิดทวาร ฯลฯ ขึ้น ก็ถอดลักษณะมาจากพระเครื่องทั้ง ๒ ชนิดของหลวงปู่รอด และในสมัยที่พระภาวนาโกศลเถระ (รอด) ถูกราชภัยถูกถอดสมณศักดิ์ลงเป็นขรัวตาธรรมดา ในกรณีที่ ไม่ยอมถวายอดิเรกแด่รัชการที่ ๔ คราวเสด็จพระราชทานผู้พระกฐินที่วัดนางนอง และถูกย้ายไปครองวัดโคนอน ในขณะนั้นท่านบวชได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) และฐานะศิษย์ใกล้ชิด ก็ได้ย้ายจากวัดนางนองติดตามไปปรนนิบัติอาจารย์ของท่าน ณ สำนักใหม่อย่างไม่ลดละ แสดงถึงน้ำใจอันประเสริฐ ของท่านที่ไม่ยอมพรากเอาตัวออกห่าง นับว่าจัดเป็นคุณธรรมที่ปรากฏเล่าขานสรรเสริญกันมาจนทุกวันนี้

“พระครูธรรมถิดา” (รอด) เป็นบุตรใครไม่ทราบ ภูมิลำเนาเดิมอยู่คลองขวาง ตำบลคุ้งเผาถ่าน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นฐานานุกรมใน พระนิโรธรังสี พระราชาคณะ เจ้าอาวาสองค์แรก (ของวัดหนัง) เป็นผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายวิปัสสนาธุระที่สำคัญรูปหนึ่ง เมื่ออยู่วัดหนัง อยู่คณะสระ พระนิโรธรังสีมรณภาพแล้ว ได้รักษาวัดอยู่คราวหนึ่ง ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนางนองและพระราชทานสมณศักดิ์เป็น ที่พระภาวนาโกศล ในรัชกาลที่ ๔ เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินวัดนางนอง เล่ากันว่า ท่านไม่ถวายอดิเรกนับเป็นความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทางราชการถอดออกจาก สมณศักดิ์ ท่านจึงไปอยู่วัดโคนอนซึ่งอยู่ในคลองขวาง ฝั่งตะวันตก ต.บางหว้า อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี และมรณภาพที่วัดนี้ หลวงปู่รอดองค์นี้เป็นผู้สร้างวัดอ่างแก้ว

ในวันที่เกิดเหตุนั้น หลวงปู่เฒ่าก็อยู่ในที่นั้นด้วยสมัยที่ยังเป็นพระปลัดได้เตือนให้พระภาวนา โกศลเถระ (รอด) ถวายอดิเรก แต่ท่านยังเฉยเสียพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วมาก เสด็จออกมานอกพระอุโบสถ แล้วตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “เขาถอดยศเรา” เกล่ากันว่าสาเหตุที่ไม่ยอมถวายอดิเรกนั้น เนื่องด้วยท่านไม่สบอารามณ์ในเรื่องการแบ่งแยกนิกาย ธรรมยุตกับมหานิกาย อันเป็นสาเหตุให้สงฆ์แตกแยกกัน ต่อมาหลังจากพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) ถูกเรียกพัดยศคืนไม่นานนัก วันหนึ่งสังฆการีก็ได้รับ พระบรมราชโองการให้นำพัดยศมาถวายคืนให้ท่าน แต่ท่านไม่ยอมรับและพูดกับสังฆการีว่า ใครเป็นผู้ถวายพัด แต่อาตมาและใครเล่าที่เอาคืนไป บุรุษจงเอากลับไปเสียเถิด วิทยาคุณของ พระภาวนาโกศลเถระ (รอด) ที่จะบรรยายต่อไปนี้ คุณปู่ทรัพย์ ทองอู๋ได้เล่าให้ทายาทฟังต่อ ๆ กันมา ซึ่งจะได้นำมาประมวลเข้าไว้ดังต่อไปนี้

การถอนคุณไสย์
ในการออกเดินธุดงค์คราวหนึ่งของหลวงปู่รอด ท่านได้ไปถึงชนบทแห่งหนึ่ง แถว ๆ ทุ่งสมรหนองขาวเขตติดต่อระหว่างกาญจนบุรีกับราชบุรี คืนวันหนึ่งขณะที่ท่านอยู่ในกลด มีพายุอื้ออึง และมีเสียงต้นไม้ต่าง ๆ ดังลั่นและหักโค่น ดังกึกก้องไปหมด ท่านจึงสมาธิเจริญพุทธาคม สงบนิ่งอยู่ พระที่ติดตาม ท่านเดินธุดงค์ได้ยินเสียงวัตถุหนัก ๆ ปลิวมาตกอยู่รอบบริเวณที่ปักกลด เสียงดังตุบ เช้าขึ้นพอเปิดกลดออกมา ก็เห็นท่อนกระดูกตกเรี่ยราดอยู่รอบบริเวณนั้น พอสักครู่หนึ่งก็มีชาวบ้านกระเหรี่ยง ๒-๓ คนเดินตรงเข้ามา บางคนก็ถือจอบและเสียมมาด้วย เมื่อได้สอบถามจึงได้ความว่าเขาเตรียมฝังศพพระธุดงค์ ซึ่งคาดว่า จะต้องถูกคุณไสย์มรณภาพ เมื่อคืนนี้ ครั้นเมื่อเห็นว่าหลวงปู่รอด และพระผู้ติดตามยังปกติดีอยู่ พวกกระเหรี่ยง จึงพากันกลับไป แต่พอไม่ทันไรก็พากันมาอีก ในตอนนี้นำเอาอาหารมาถวายด้วย หลวงปู่รอดบอกพระผู้ติดตาม ว่าอย่าได้ฉันอะไรเป็นอันขาด พอรับประเคนอาหารแล้วก็เรียก ให้พระผู้ติดตามเอาหม้อกรองน้ำ ของพระธุดงค์ มาให้แล้ว หลวงปู่รอดก็บริกรรม ทำประสะน้ำมนต์พรมอาหารนั้น

ปรากฎว่าข้าวสุกที่อยู่ในกระด้ง ก็กลายเป็นหนามเล็ก ๆ เต็มไปหมด กับข้าวต่าง ๆ ในกลามะพร้าว ก็กลายเป็นกระดูกชิ้นน้อย หลวงปู่รอด เอามือกวาดกระดูกและหนามเหล่านั้นไว้ แล้วคืนภาชนะที่ใส่มา ให้กับพวกนั้นไป พวกกระเหรี่ยงพยายาม จะขอคืนไปท่านไม่ยอมให้ ตกกลางคืนหลวงปู่รอดบอกกับพระลูกศิษย์ว่า ท่านจะปล่อยของเหล่านี้กลับไปเล่นงาน เจ้าพวกนี้บ้าง เพียงสั่งสอน ให้รู้สึกสำนึกเท่านั้น พอรุ่งเช้าพวกกระเหรี่ยง ก็รีบมาหาหลวงปู่รอดแต่เช้ามืด คราวนี้ หามคนป่วยมาด้วยคนหนึ่ง ล่าวคำขอขมา และขอร้องให้ท่านว่าช่วยรักษา ลักษณะคนป่วยร่างกายบวม ไปทั้งตัวเหมือนศพที่กำลังขึ้น หลวงปู่รอดหัวเราะแล้วถามว่าเป็นอะไรบ้าง คนป่วยได้แต่นอนอยู่ตลอดเวลา ได้แต่กรอกหน้าและยกมือขึ้นพนม หลวงปู่รอดจึงเอาน้ำมนต์ ในหม้อกรองน้ำ (ลักจั่น) พรมลงไปตามร่างคนป่วย เพียงครู่เดียวนั้นเองร่างกายที่บวม ก็ค่อยยุบเป็นอัศจรรย์ ทุกคนก็กราบหลวงปู่ด้วยความยำเกรง แล้วบอกว่าจะนำอาหารมาถวาย แต่ท่านบอกว่าจะ ถอนกลด แล้วเดินธุดงค์ต่อไปหลังจากได้ปักกลดอยู่ ๒ คืนแล้ว

เดินบนใบบัว
การเดินทางบนใบบัว เรื่องนี้เนื่องมาจากเดินธุดงค์ในสมัยที่หลวงปู่เฒ่าเป็นเณรอยู่ ได้เล่ากันต่อๆ มาว่าในครั้นนั้น พระภานาโกศลเถร (รอด) ได้เดินธุดงค์โดยมีสามเณรร่วมไปด้วย ถึงห้วยกระบอก หรือห้วยกลด แขวง จ.กาญจนบุรี กล่าวกันว่ามีกลดพระธุดงค์ร้างปักอยู่มาก เนื่องจากหนีสัตว์ป่าไปเสีย ข้างหน้าภูมิประเทศเป็นบึงใหญ่ขวางหน้าอยู่ ส่วนทั้งข้างเป็นภูเขาสูงชันมาก ยากแก่การปีนข้าม หลวงปู่รอดบอกกับสามเณรว่า เมื่อท่านเดินก้าวลงใบบัว ในหนองน้ำนั้นชึ่งเป็นพืดติดต่อกันไป ถึงฝั่งตรงข้ามให้เณรคอยก้าวตาม เหยียบทับรอยเท้า ของท่าน บนใบบัวแต่ละใบอย่าให้พลาดได้

ท่านจึงบอกคาถาให้บริกรรมขณะที่จะก้าวเดินแล้วท่านก็เจริญอาโปกสิณอยู่ครู่ งหนึ่ง ท่านก็ได้ก้าวเดิน บนใบบัว ทีละก้าว ส่วนสามเณรก็ก้าวตามไป พร้อมด้วยบริกรรมคาถา ผ่านท้องน้ำอันเวิ้งว้าง ไปโดยตลอด ส่วนสามเณรเห็นว่า ใบบัวก้าวสุดท้ายของหลวงปู่รอด ก่อนที่ท่านจะก้าวขึ้นฝั่งนั้น เป็นใบบัวที่เล็กมากและอยู่เกือบชิดตลิ่งแล้ว จึงไม่ เหยียบ ตามหลวงปู่ไปจะสืบเท้าก้าวขึ้นฝั่งเลยที่เดียว แต่ไม่สำเร็จ เพราะใบบัวที่เท้าหลังเหยียบอยู่ ยุบตัวลงเสียก่อน เณรจึงตกลงไปในน้ำ หลวงปู่รอดหันมาดูได้แต่หัวเราะและกล่าวขึ้น ว่าบอกให้เดินตาม ทุกก้าวไปก็ไม่ยอมเดิน ถ้าเป็นกลางบึงคงสนุกใหญ่

จริยาวัตร
หลวง ปู่พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) ปฏิบัติกิจวัตรเป็นประจำวันของท่านอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ เช่น การลงอุโบสถ แม้ฝนจะตกบ้างเล็กน้อยท่านก็เดินกางร่มไปซึ่งกุฏิของท่านอยู่ห่างประมาณ ๕๐ เมตร ขณะนี้ได้รื้อปลูกใหม่เป็นหอภาวนาโกศลไว้ที่เดิม น่าเสียดายควรจะได้ซ่อมแซมไว้เป็นที่ระลึก ให้กุลบุตรกุลธิดาไว้ศึกษาเป็นของเก่า เช่น กุฎีสมเด็จโตวัดระฆัง เป็นต้น พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม) ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ในหลวงจะได้รับสั่งให้ขุนวินิจฉัยสังฆการีนิมนต์เข้าไปในงานพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ ฉัตรมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น โดยคุณพ่อพูน ทองพูนกิจ เป็นไวยาวัจกร เมื่ออายุ ๑๔ – ๑๕ ปี ได้ติดตามเข้าไปในพระที่นั่งอมริทร์วินิจฉัย ถ้าหากเป็นพระราชพิธีในตอนเช้า หลวงปู่เฒ่าจะต้องไปค้างแรมที่วัดพระเชตุพนกับพระราชาคณะผู้ใหญ่รูปหนึ่งที่ ชอบพอกัน

ในการ เดินทางไปสมัยนั้น ต้องไปด้วยเรือแจวของหลวงประจำวัด ถ้าไม่ค้างคืนก็จอดเรือขึ้นที่ตลาดท่าเตียน วัดโพธิ์ เดินไปพระราชวังเข้าทางประตูวิเศษไชยศรีใกล้หน่อย ถ้าไปค้างแรมต้องไปจอดที่ท่าราชวรดิษฐ์ ฝากทหารเรือให้ช่วยดูแลอีกทีหนึ่ง คงจะสงสัยว่า ไวยาวัจกรหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเด็กวัดนั้น จะแต่งกายติดตามหลวงปู่เฒ่าเข้าไปในพระราชวังได้อย่างไร คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า ต้องแต่งตัวแบบประเพณีนิยม นุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนใส่เสื้อราชประแตนกระดุม ๕ เม็ด หลวงปู่เฒ่าท่านสั่งตัดและจัดหามาให้ใส่ ขณะเมื่อถึงแก่กรรมเสื้อตัวนี้ยังอยู่ เพราะตัดด้วยผ้าของนอกอย่างดีในสมัยนั้น ยังมีเรื่องที่คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า ขุนวินิจฉัยสังฆการีเคารพและนับถือหลวงปู่เฒ่ามาก ถ้าไม่มีราชการก็จะมาเยี่ยมเยียนทุกข์สุข มาครั้งใดเมื่อลากลับหลวงปู่เฒ่าจะให้ปัจจัยไปทุกครั้ง ๆ ละ ๑ บาท เพราะท่านขุนผู้นี้ชอบเล่นหวย ก.ข. มาทีไรขอหวยกับหลวงปู่เฒ่าทุกที แต่ท่านได้แต่หัวเราะแล้วเฉยเสีย

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  พระครูพิสิฐสรวุฒิ เบอร์ 099-128-1871 ไอดีไลน์ 0991281871 หรือ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 083-846-3033 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ พระครูพิสิฐสรวุฒิ เบอร์ 099-128-1871 ไอดีไลน์ 0991281871 หรือ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 083-846-3033 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)