ข่าวประวัติ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตโต วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง - kachon.com

ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตโต วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง
ประวัติพระเกจิอาจารย์

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตโต วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง

หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตโต)
วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเถราจารย์ผู้มีพุทธาคมเข้มขลัง

วัดดอนไร่
วัดดอนไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ในปี พ.ศ.2456 ภายใต้การนำของท่านผู้ใหญ่ยาและนางบู่ ต้นตระกูล ยาสุขแสง ได้นำชาวบ้านหักร้างถางดงบนที่ดอนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านหนองตม อันเป็นไร่เก่าของนายสี นางพูน และนายแก้ว นางหมอน แล้วสร้างเป็นวัดขึ้นตรงไร่ดังกล่าวเรียกว่า วัดดอนไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านหนองตม

วัดดอนไร่เป็นวัดที่ใหญ่โตอีกวัดหนึ่งในปัจจุบัน
ด้วยได้รับความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาของบรรดาพุทธศาสนิกชนและเจ้าอาวาสของวัดทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน

และหากกล่าวถึงวัดดอนไร่แล้วบุคคลส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศไทย วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ต่างก็ได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของบุคคลทั้งหลาย

หลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต
พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
พระคณาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลที่เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นได้รับความนิยมกันมาก
เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ณ.บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นบุตรของพ่อเหมือน แม่ชัง มีศรีไชย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ

1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ
2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง
3. นายช่อง มีศรีไชย
4. นายเชื่อม มีศรีไชย (หลวงพ่อมุ่ย พุทฺรักฺขิโต)
5. นางสาคู มีศรีไชย

วัยเด็ก
เนื่องด้วยครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กของท่านจึงมีชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป โดยช่วยเหลือครอบครัวในการเลี้ยงควาย เป็นต้น

วัยหนุ่ม
เมื่อวัยหนุ่มท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ผลว่าท่านถูกเกณฑ์เป็นทหารและทางอำเภอได้ส่งตัวท่านไปยังจังหวัด แต่ท่านก็ต้องถูกส่งตัวกลับมาด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ สรุปคือท่านไม่ได้เป็นทหารแน่นอน

อุปสมบท
ภายหลังจากการเกณฑ์ทหารเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทตามธรรมเนียมประเพณีของคนไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ณ. พัทธสีมาวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี
พระครูศีลกิติ ( หลวงพ่อกฤษณ์ ) วัดท่าช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอนุสาวนาจารย์ไม่ทราบชื่อ
ในช่วงนี้ท่านได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆจากพระอาจารย์ต่างๆอยู่พอสมควร

ท่านอุปสมบทได้ประมาณ 10 กว่าพรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยบิดามารดาซึ่งชราทำไร่นา ในช่วงนี้ท่านได้เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากจะดูแลรักษาให้หายได้ ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วย จะฝากกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนาตลอดไป เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็ได้หายไป และช่วงนี้ท่านก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก เชื่อม มาเป็น มุ่ย สรุปแล้วท่านลาสิกขาบทมาได้ไม่กี่เดือนก็อุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่สอง

ท่านได้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2465 เวลา 15.30 น. ณ. พัทธสีมาวัดตะค่า(วัดดอนบุบผารามในปัจจุบัน) ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ทวน วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์กุล วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับชื่อทางพระพุทธศาสนาจากพระอุปัชฌาย์ว่า พุทฺธรักฺขิโต

ครูบาอาจารย์
เนื่องด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่าน ได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบทครั้งแรก เมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไปแต่ก็สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง แต่เท่าที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้

1. พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงปู่อ้นท่านเป็นพระอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี ในยุคนั้นหลวงปู่อ้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีในยุคสมัยนั้น ท่านขึ้นชื่อมากในด้านแพทย์แผนโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และพุทธาคมก็ยังเป็นเลิศ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและพระอาจารย์ต่างๆมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านที่วัดมากมายลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณเชียง วัดราชบูรณะ ,หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน , หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม เป็นต้น ในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ยท่าน เมื่อปี พ.ศ.2465 ท่านได้เดินทางมาที่วัดดอนบุบผารามเพื่อให้หลวงปู่อ้นทำการอุปสมบทให้ และหลังจากการอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อมุ่ยก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่อ้นต่ออีกสักพักหนึ่ง หลวงปู่อ้นจึงนับเป็นพระอาจารย์รูปแรกของท่านเท่าที่มีการบันทึกมา

2. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงพ่อมุ่ยสนใจในวิปัสสนากรรมฐานมาก ซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานของเมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ก็มี หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน , หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา และหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว หลวงพ่อมุ่ยได้เลือกศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขาในช่วงที่บวชครั้งที่สอง ศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มเป็นระยะเวลา1พรรษาเต็ม หลังจากศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มก็ได้พาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลกันมากนัก

3. พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
ในยุคนั้น หลวงปู่ศุข ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ มีลูกศิษย์ลูกหามาขอศึกษาวิชาต่างๆกับท่านมากมาย หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน ภายหลังจากที่ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มจึงแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่ออิ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า ตัวท่านเองแก่แล้ว จึงศึกษาเวทมนต์ คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุขได้ครึ่งเล่ม ส่วนหลวงพ่อมุ่ยท่านยังหนุ่มสามารถศึกษาได้ถึงเล่มครึ่ง หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นที่รักใคร่ของหลวงปู่ศุขมาก เป็นศิษย์ชั้นแถวหน้าของหลวงปู่ศุขเลยทีเดียว กล่าวกันว่าท่านได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่ศุขมาก รองมาจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

4. อาจารย์กูน วัดบ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
อาจารย์กูน วัดบ้านทึง เป็นฆราวาสที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี เดิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทึง แต่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบท ท่านเชี่ยวชาญมากในด้านไสยศาสตร์ และแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านตลอดมา อาจารย์กูนเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อเลื่องลือมากในยุคนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านสนใจในด้านแพทย์แผนโบราณมาก จึงได้เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ต่ออาจารย์กูนในสมัยที่อาจารย์กูนท่านยัง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทึงอยู่ และอาจารย์กูนยังได้มอบตำราการทำยาหอมให้ท่านมาด้วย ซึ่งต่อมาท่านก็มอบต่อให้ศิษย์ท่านเอาไปทำยาหอม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีคือ ยาหอม ตราฤาษีทรงม้า นั่นเอง

5. หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
ท่านเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมมากผู้หนึ่งหลวงพ่อมุ่ยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากท่าน

6. นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์ของท่านอีกซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยัน ชัดเจนว่าหลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาอะไรไปบ้าง อย่างเช่น หลวงพ่อกฤษณ์ วัดท่าช้าง (พระอุปัชฌาย์ในการบวชครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย) ฯลฯ

งานด้านการปกครอง
ปี พ.ศ.2475 เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่
ปี พ.ศ.2476 เป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา

สมณศักดิ์
ปี พ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ 1 ใน 2
รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น
ปี พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์
ซึ่งเป็นพระครูสัญญาบัตร 1 ใน 2 รูปของอำเภอสามชุกในสมัยนั้น

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนไร่

หลังจากชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดดอนไร่ขึ้นมาแล้วแล้ว ก็ได้นิมนต์หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคารามมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อยู่ช่วยสร้างวัดได้ 1 พรรษา หลวงพ่อปลั่งก็ได้ย้ายกลับไป

ปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อพลอยได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองอยู่ได้ 5 พรรษาก็ลาสิกขาบท จึงทำให้วัดดอนไร่ว่างเว้นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง

ปี พ.ศ.2466 ภายหลังจากการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านก็ได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา

ปี พ.ศ.2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา ท่านจึงมีภาระมากขึ้นด้วยว่ามีเขตการปกครองขว้างขวาง วัดใดเสื่อมโทรมก็ต้องเข้าไปดูแลพัฒนาซ่อมแซม รวมไปถึงวัดภายนอกเขตปกครองด้วย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ขยันหมั่นเพียรดูแลรักษาและพัฒนาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

หลวงพ่อมุ่ยได้สร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดดอนไร่ ก่อด้วยอิฐไม่ได้ฉาบปูน หลังคามุงหญ้าแฝก ซึ่งได้ฝังลูกนิมิตไปในปี พ.ศ.2482 กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ซึ่งสร้างจากไม้เป็นหลัก ซึ่งไม้ดังกล่าวหลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้นำกองเกวียนของบรรดาชาวบ้านเข้าป่า เพื่อไปตัดไม้ดังกล่าวมาสร้างวัดเองโดยตลอด จึงเป็นภาระอันหนักยิ่งของท่านในสมัยนั้น

ปี พ.ศ.2496 ท่านได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีกุลบุตรมากมายมาให้ท่านอุปสมบทให้ รวมทั้งลาสิกขาบทจากท่าน ซึ่งในสมัยนั้นทั้งอำเภอมีพระอุปัชฌาย์แค่เพียง2รูปเอง จึงกล่าวได้ว่าในสมัยนั้นชาวสามชุกค่อนอำเภอบวชโดยหลวงพ่อมุ่ย

อุปนิสัย
หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย ทำสิ่งใดแต่พอเหมาะพอควร มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่า ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ด้วยเคยตั้งมั่น อธิษฐานชีพนี้เพื่อพระพุทธศาสนา

และหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยโอ้อวดตน อย่างเช่นครั้งหนึ่งสมเด็จพระสังฆราช จวน วัดมกุฏกษัตริยาราม เสด็จมาเป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องยุทธหัตถีที่พระวิสุทธิสารเถระ หรือหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นแม่งานจัดสร้าง สมเด็จฯพบหลวงพ่อมุ่ย จึงตรัสถามหลวงพ่อมุ่ยว่า ทำไมจึงขลังนัก หลวงพ่อมุ่ยก็ตอบว่า หากท่านจะขลังก็คงขลังที่ความดี เพราะตั้งแต่ท่านบวชมา ท่านไม่เคยทำชั่วเลย สมเด็จฯได้ยินดังนั้นทรงชื่นชอบในคำตอบของหลวงพ่อมุ่ยเป็นอย่างมาก

อาพาธและมรณภาพ
ปี พ.ศ.2516 หลวงพ่อมุ่ยเริ่มอาพาธ ล่วงถึงกลางปีก่อนเข้าพรรษาอาการอาพาธด้วยโรคชรานี้ได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อเห็นอาการไม่ดีขึ้นจึงได้นำหลวงพ่อเข้ารับการรักษา ทำให้ตลอดพรรษานี้หลวงพ่อต้องจำพรรษาอยู่ที่คลินิกของแพทย์ผู้เป็นลูกศิษย์

ก่อนหน้าฤดูเทศกาลกฐินหลวงพ่อได้กลับมาที่วัด ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาดีใจมาก จัดขบวนต้อนรับกันยิ่งใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าการกลับมาครั้งนี้เป็นการจากลาของหลวงพ่อ ล่วงถึงเวลา 07.15 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2517 หลวงพ่อมุ่ยก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ สิริอายุ 85 ปี 41 วัน

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)