ข่าวประวัติ หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ วัดบางนมโค บ้านหัวไผ่ ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - kachon.com

ประวัติ หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ วัดบางนมโค บ้านหัวไผ่ ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติพระเกจิอาจารย์

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติ หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ วัดบางนมโค บ้านหัวไผ่ ตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ประวัติพระครูวิหารกิจจานุการ
หลวงพ่อปาน โสนันโทเถระ
ชาติภูมิ ของหลวงพ่อปาน ท่านได้ถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ โดยอาชีพทางครองครัว คือ ทำนา สาเหตุที่โยมบิดาขนานนามท่านว่า “ปาน” เนื่องจากท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวคือปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว

หลวงพ่อปานในวัยเด็ก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปานว่า “…ท่าน (หลวงพ่อปาน) บอกว่า สมัยท่านเป็นเด็กอายุสัก ๓-๔ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้าน หลวงพ่อปาน ท่านเป็นคนบางนมโค และเป็นคนตำบลนั้น ไม่ใช่คนที่อื่น เป็นคนที่มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่งอยู่สักหน่อย สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส

ท่านบอกว่า ท่านวิ่งเล่น อยู่ใต้ถุนบ้านย่าของท่าน ก็ปรากฏว่าย่าของท่านกำลังป่วยหนัก ใกล้จะตาย เวลานั้นก็เห็นจะเป็นเวลาบ่ายสัก ๒-๓ โมงกว่า ท่านว่าอย่างนั้นโดยประมาณ คนทุกคนเขามาเยี่ยมย่า พ่อแม่ของท่านก็ไป เมื่อคนทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านบอก เห็นร้องดังๆ บอก แม่ แม่ อรหันนะ อรหัน ภาวนาไว้ อรหัน พระอรหัน จะช่วยแม่ ก็ร้องกันเสียงดังๆ ท่านอยู่ใต้ถุน ท่านยืนฟัง เขาว่าอรหันกันทำไม

พอท่านสงสัยก็ย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน พอท่านขึ้นไปแล้วก็ปรากฏว่า ผู้อยู่เขาเอาปากกรอกไปที่ข้างหูของคุณย่าท่าน บอกแม่ แม่ อรหันนะ อรหัน แต่ว่าพอผู้ใหญ่เขามองเห็นท่านเข้าไป เขาก็ไล่ท่านไป เขาจะหาว่าไอ้เจ้าเด็กมันรุ่มร่าม ท่านก็เลยไปเล่นใต้ถุนบ้านอื่น

พอมาถึงตอนเย็น เวลากินข้าว ท่านแม่ก็ป่าวหมู่เทวฤทธิ์คือเรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้วท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางกลาง สำหรับตัวท่านเองเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานมาให้แล้วเอาแกงเผ็ด ท่านบอกว่า ไอ้แกงฉู่ฉี่แห้ง ท่านชอบ เขาใส่มาให้ เรียกว่า ไม่ต้องหยิบกับข้าว กินแบบประเภทข้าวราดแกง เวลาที่ท่านกินเข้าไปแล้วมานั่งนึกว่า กับข้าวมันอร่อยถูกใจ ก็เกิดความชุ่มชื่น พอจิตมันนึกขึ้นได้ว่าเขาบอก อรหัง อรหัง นึกถึงคำว่า อรหัง ขึ้นมาได้ ท่านก็เลยปลื้มใจอย่างไรชอบกล เลยเปล่งวาจาออกมาดังๆว่า อรหัง อรหัง ว่า ๒-๓ คำ

ท่านแม่ที่มองตาแป๋วลุกพรวด จับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ จับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน แล้วร้องตะโกน “เอ้า มึงจะตายโหง ตายห่าก็ตายคนเดียว มันจะมาว่า อรหัง ที่นี่ได้รึ? คำว่า อรหัง พุทโธ นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน นี่ดันมาว่า อรหัง ที่นี่ ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”

ท่านแปลกใจ คิดว่า นี่เราว่าดีๆ นี่แม่ดุเสียงเขียวปัด นี่มันเรื่องอะไรกัน ในเมื่อถูกแม่ดุอย่างนั้น จะขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียว ก็เลยไม่ว่า พอท่านพูดถึงตอนนี้แล้ว ท่านก็หัวเราะบอกว่า “คุณแม่ฉันน่ะโง่นะ ไม่ได้ฉลาดหรอก อีตอนใหม่นั้น ตอนฉันมาบวชได้แล้ว อรหังหรือพุทโธนี้ ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ทั้งหมด ถ้าใครภาวนาคำนี้ได้ตกนรกไม่ได้…แต่ว่าแม่ของฉัน นี่ท่านไม่รู้ ก็เป็นโทษเพราะไม่ได้รับการศึกษา แต่ว่าไม่เป็นหรอก ตอนหลังที่ฉันบวชแล้วนี่นะ ฉันกลับใจแม่ของฉันได้ ฉันแนะนำให้ท่านทราบแล้ว เวลาท่านตายท่านก็ยึดพุทโธ อรหังเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ยึดเวลาตาย ฉันให้ท่านว่าทุกวัน….”

สมัยก่อน เมื่อลูกชายมีอายุครบบวช ก็จะทำการอุปสมบท ทางบิดามารดาจะต้องส่งบุตรของตนไปอยู่วัดเพื่อรับการอบรม และท่องขานนาคเป็นเวลาประมาณ ๓ เดือน เป็นอย่างน้อยท่านเองมีความสงสัยในใจว่า เหตุไฉนสตรีเพศจึงดึงดูดบุรุษเพศมากมายนัก ทำให้หลงใหลใฝ่ฝัน ตัวท่านเองก็ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงมาก่อน จึงคิดว่าจะหาวิธีลองของจริงดูว่าเป็นอย่างไร ถ้าดีจริงบวชครบพรรษาจะสึกออกมา ถ้าไม่เป็นจริงตามวิสัยโลกก็จะไม่สึก ที่บ้านของท่านมีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งเรียกกันว่าทาส ชื่อว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกันสองคน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา บอกว่าตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ไม่เคยจับเนื้อใคร ท่านคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดียังไงผู้ชายถึงได้อยากกันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ก็สงสัยว่าจะบวชแล้วนี่ ถ้ามันดีจริงแล้วก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็จะไม่สึกละ

เมื่อคนว่างก็เข้าไปหาพี่เขียว พี่เขียวแกอยู่ในครัว เป็นทาส แต่ว่าท่านเรียกพี่ในฐานะที่เขาแก่กว่าตัว ยกมือไหว้ บอกว่า “พี่เขียว ขออภัยเถอะ ฉันขอจับเนื้อพี่เขียวดูหน่อยได้ไหมว่า เนื้อผู้หญิงน่ะมันดียังไง เขาถึงชอบกันนัก”

พี่เขียวก็แสนดี อนุญาต ท่านก็เลือกจับเนื้อกล้าม เขาเรียกว่า กล้ามเนื้อที่หน้าอก ผู้หญิงนี้มีกล้ามเนื้อพิเศษ อยู่ที่กล้ามเนื้อ ๒ กล้ามที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก จับตรงนั้น แต่ก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วก็มาจับน่อง เอ๊! มันคล้ายกัน

บอกพี่เขียวว่านี่มันคล้ายกันนี่ พี่เขียวแกก็บอกว่าเป็นอย่างนั้นมันก็คล้ายกัน แล้วท่านก็ถามพี่เขียวว่า ทำไมผู้ชายเขาถึงชอบเนื้อผู้หญิงนัก ดันไปถามผู้หญิงได้ นี่ว่ากันอย่างเราๆนะ แล้วเขาจะตอบอย่างไร เขาก็บอกไม่รู้เหมือนกัน

แล้วท่านก็ยกมือไหว้ขอขมาพี่เขียวบอกว่า “ขอโทษ ที่ขอจับเนื้อนี่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น อยากจะพิสูจน์เท่านั้นว่ามันดีอย่างไร” เมื่อท่านหมดความสงสัยในใจแล้ว ก็ตกลงใจว่าจะบวช คราวนี้จะไม่ขอสึกหาลาเพศ ก็สมจริงกับที่ท่านตั้งใจทุกประการ

• สู่ร่มกาสาวพัสตร์
หลังจากที่โยมมารดาบิดาได้นำท่านมาฝากไว้กับหลวงปู่คล้าย ให้ฝึกหัดขานนาคให้คล่องแคล่วแล้ว ท่านก็ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม โดยมี หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์
มีฉายาว่า “โสนันโท”

• หลวงพ่อปานเรียนวิชา
หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว หลวงพ่อปานท่านก็ได้ติดตามพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น ด้วยความสนใจใคร่ศึกษา เพราะว่าในสมัยนั้น หลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระที่แก่กล้าทางคาถาอาคม และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อตามไปเล่าเรียนเป็นศิษย์แล้ว หลวงพ่อสุ่นเห็นลักษณะของหลวงพ่อปานว่ามีลักษณะดี จะได้เป็นครูบาอาจารย์ต่อไปภายภาคหน้า จึงได้ให้สติหลวงพ่อปานเบื้องต้นในการเบื่อหน่ายกิเลสว่า
๑.อย่าอยากรวย อยากมีลาภ ได้ทรัพย์มาแล้วดีใจ ตั้งหน้าสะสมทรัพย์
๒.เป็นอย่างต้นแล้ว เมื่อทรัพย์หมดก็เป็นเหตุให้เสียใจ
๓.อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ยศมาแล้วปลื้มใจ
๔.เมื่อหมดยศไปแล้วก็เสียใจ
๕.ได้รับคำสรรเสริญแล้วยินดี
๖.เมื่อถูกนินทาก็ไม่พอใจ
๗.มีความสุขความเพลิดเพลินในกามารมณ์
๘.เมื่อมีความทุกข์ก็หวั่นไหวท้อแท้ใจ

จากเพศฆราวาสมาสู่เพศบรรพชิตแล้วอย่าหวังรวย ถ้ารวยแล้วไม่ใช่พระ พระต้องรวยด้วยบุญญาบารมี เงินที่ได้มาอย่าติด จงทำสาธารณประโยชน์เสียให้สิ้น เหลือกินเหลือใช้แต่พอเลี้ยงอาตมา อย่าหวังในยศ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่รับยศไม่ได้แล้ว ก็อย่าเมายศฐาบรรดาศักดิ์ มันเป็นเครื่องถ่วงกิเลส ยศ ลาภ สรรเสริญ ความสุขในกามารมณ์ มันเป็นตัวกิเลส มันเป็นโลกธรรม ต้องตัดออกให้หมด ถ้าพอใจในสี่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่พระ จะพาให้สู่ห้วงนรก

จงระลึกอยู่เสมอว่า เราบวชเพื่อนิพพาน อย่างที่กล่าวในตอนขออุปสมบทครั้งแรกว่า “นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตะวา” อันหมายความว่า เราขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สั่งให้ท่องสวดมนต์ตลอดจนคาถาธาตุทั้งสี่ คือ นะ มะ พะ ทะ ให้ว่าถอยหลังแล้วเป่า ให้กุญแจหลุด ถ้าเจ้าเป่าหลุดแล้วบอกพ่อ จะให้วิชาต่างๆ ให้หมดไม่ปิดบัง นี่คือการฝึกสมาธิจิตที่หลวงพ่อสุ่นสอนหลวงพ่อปานทางอ้อม คือถ้าจิตไม่มีสมาธิแล้วอย่าหวังเลยว่า ด้วยคาถาเพียงสี่ตัวจะดีกว่าลูกกุญแจได้

หลวงพ่อปานท่านก็มีความอดทน หมั่นฝึกเป่ากุญแจนานเป็นเดือน เป่าเท่าไหร่ก็ไม่หลุด มาหลุดเอาตอนที่ท่านทำใจสบายเป็นสมาธิ นึกถึงคาถาเป่ากุญแจได้ จึงลุกขึ้นมาเป่ากุญแจ คราวนี้กุญแจหลุดหมด ทดลองกับลูกอื่นๆ ก็หลุด เพิ่มกุญแจขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๔๐ ดอก แขวนไว้บนราว ก็หลุดหมด แล้วจึงทดลองให้หลวงพ่อสุ่นดูจนพอใจ หลังจากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็สอนวิปัสสนาให้แก่หลวงพ่อปาน ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงที่สุด ด้วยความเมตตาหลวงพ่อปาน ในตอนท้ายว่า เมื่อมีฤทธิ์แล้วอย่าแสดงให้คนอื่นเขาเห็นเป็นการอวดดี จะเป็นโทษตามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้

จบจากวิปัสสนาแล้วหลวงพ่อสุ่นยังได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้อาศัยใช้ช่วยชีวิตผู้ได้รับทุกข์ทรมานให้หายมามากต่อมาก จนท่านได้ชื่อว่าเป็น “พระหมอ” หลวงพ่อสุ่น สอนว่า “การเป็นหมอนั้น บังคับไม่ให้คนไม่ตายไม่ได้ หมอเป็นเพียงช่วยระงับทุกข์เวทนาเท่านั้น” จากนั้นหลวงพ่อสุ่นก็ถ่ายทอดกสิณต่างๆ ให้หลวงพ่อปานจนกระทั่งสิ้นความรู้

• องค์อาจารย์ของหลวงพ่อปาน
การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานนั้น พอจะรวบรวมได้ดังนี้
เรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาแพทย์จาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เรียนวิชาปริยัติธรรมที่ วัดเจ้าเจ็ด กับ พระอาจารย์จีน ด้วยเหตุที่หลวงพ่อสุ่นท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้นแล้ว ท่านจึงแนะนำให้มาเรียนปริยัติธรรมที่วัดเจ้าเจ็ด กับพระอาจารย์จีน จากปากคำของชาวบ้านแถบวัดเจ้าเจ็ด และผู้ที่เคยไปเรียนกับพระอาจารย์จีนได้ให้ปากคำตรงกันว่า พระอาจารย์จีนเป็นคนโมโหร้าย เวลาโมโหแล้วยั้งไม่อยู่ ปากว่ามือถึง ดังนั้น เวลาสอนใคร ถ้าลูกศิษย์ทำไม่ถูกต้องตามใจที่สอนไปแล้ว กลัวว่าจะไปทำร้ายลูกศิษย์เข้า ท่านจึงได้สร้างกรงใหญ่ขึ้นสำหรับขังตัวท่านเอง เวลาสอนหนังสือ โดยให้ลูกศิษย์เป็นคนใส่กุญแจขังแล้วเก็บกุญแจไว้ เวลาสอนหนังสือ ลูกศิษย์คนใดไม่ตั้งใจเรียนหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ทำให้อาจารย์จีน ท่านก็จะโมโหโกรธา เอามือจับลูกกรงเหล็กเขย่า จนลูกศิษย์ที่เรียนตกใจขวัญหนีดีฝ่อ แต่พอท่านคลายโทสะลงแล้ว ท่านก็กลายเป็นพระอาจารย์จีนรูปเดิม

หลวงพ่อปานท่านมีความมานะพยายามเป็นที่ตั้ง ท่านต้องพายเรือมาเรียนหนังสือที่วัดเจ้าเจ็ดทุกวัน เวลาพายเรือไปเรียนท่านก็จะท่องพระปาฏิโมกข์ และบทเรียนที่อาจารย์สอนจนขึ้นใจ พอเวลาเรียน อาจารย์ถามอะไร ก็ตอบได้ถูกต้อง เป็นที่พอใจแก่อาจารย์ยิ่ง ในที่สุดพระอาจารย์จีนก็สิ้นความรู้ที่จะสอนให้ท่าน ท่านจึงหยุดเรียน และเตรียมตัวสำหรับที่จะหาสำนักเรียนใหม่

หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสกันต์ ตามคำบอกเล่าของพระภิกษุเลี่ยมว่า หลวงพ่อปานได้เรียนรู้วิชามาหลายอย่าง เคยพิมพ์คาถาออกแจกด้วย

เมื่อเห็นว่าพระอาจารย์จีนไม่มีความรู้ที่จะสอนได้อีกต่อไป ท่านจึงคิดเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เพราะเป็นแหล่งรวมวิชาต่างๆ ท่านจึงได้ไปเรียนให้โยมมารดาของท่านได้รับทราบว่า จะขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เพราะว่าที่นี่หาอาจารย์สอนไม่ได้อีกแล้ว

โยมมารดาท่านเป็นห่วงว่าท่านเป็นบุตรคนเล็กที่มีอยู่ นอกนั้นออกเรือนไปหมดแล้ว อีกทั้งไม่มีญาติโยมทางกรุงเทพฯ จึงขอร้องไม่ให้ไป ท่านจึงลากลับวัด ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านตัดสินใจนำจีวรแพรที่โยมมารดาถวายไว้นำไปขาย ได้เงินแปดสิบบาท แล้วตัดสินใจเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่บอกให้โยมมารดารู้ จะให้รู้ก็กลัวจะลงเรือไปแล้ว จึงเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่คล้าย (เจ้าอาวาสวัดบางนมโคสมัยนั้น) ว่าจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ หลวงปู่คล้าย จึงแนะนำให้ไปเรียนกับ พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ โดยมอบเงินช่วยเหลือไปอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นทุนในการศึกษาเล่าเรียน ตลอดเวลาท่านจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์เจิ่น ท่านได้พยายามหาความรู้เพิ่มเติม ในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาเมื่อท่านกลับมาวัดบางนมโค ปรากฏว่าท่านเป็นพระธรรมกถึกที่เทศนาได้เพราะจับใจ และดึงดูดศรัทธายิ่งนัก

นอกจากวัดสระเกศแล้ว ท่านยังได้มาเรียนเพิ่มเติมที่วัดสังเวช และที่อื่น จนมีความรู้ทางด้านแพทย์แผนโบราณแตกฉานอีกด้วย

จากข้อความในหนังสือ อนุสรณ์ครบ ๑๐๑ ปีหลวงพ่อปาน เขียนไว้ว่า หลวงพ่อปานเคยเล่าให้ฟังว่า ระหว่างอยู่ที่วัดสระเกศนั้น อัตคัตมาก บิณฑบาตบางครั้งก็พอฉัน บางครั้งก็ไม่พอ ได้แต่ข้าวเปล่าๆ จ้องเด็ดยอดกระถินมาจิ้มน้ำปลา น้ำพริก ฉันแทบทุกวัน แต่ท่านก็อดทน ด้วยรับการอบรมเป็นปฐมมาจากพระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

ท่านว่าอยู่กรุงเทพฯ ๓ ปี ได้ฉันกระยาสารทเพียงครั้งเดียว โดยนางเฟือง คนกรุงเทพฯ นำมาถวาย ได้รับนิมนต์ไปบังสกุลครั้งหนึ่งได้ปัจจัยมาหนึ่งสลึง เจ้าหน้าที่สังฆการีก็มาเก็บเอาไปเสียเลยไม่ได้ใช้ เงินที่ติดตัวไป ท่านก็ใช้จ่ายไปในการศึกษาจนเกือบหมด ท่านเหลือไว้หนึ่งบาท เอาไว้ใช้เมื่อมีความจำเป็นสุดยอดเท่านั้น

ด้วยความอดทนของท่าน ในปีสุดท้ายที่ท่านจะกลับวัดบางนมโคนั้นเอง คืนหนึ่งท่านได้ยินเสียงคนเคาะหน้ากุฏิ ท่านเปิดออกไปก็เจอเทวดามาบอกหวย แล้วเขียนให้ดู แล้วย้ำว่าจำได้ไหม ท่านก็ตอบว่าจำได้ ท่านนอนคิดจนนอนไม่หลับ พอรุ่งเช้าแทนที่ท่านจะแทงหวย ท่านกลับเห็นว่านั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ ตามที่หลวงพ่อสุ่นได้อบรมไว้ ท่านก็ไม่แทง ปรากฏว่าวันนั้นหวยออกตรงตามที่เทวดาบอก ถ้าท่านแทงหวย ก็คงจะรวยหลาย

ท่านอาจารย์แจง ฆราวาสชาวสวรรคโลก จากบันทึกของท่านฤาษีลิงดำว่า ท่านอาจารย์แจง เป็นฆราวาสสวรรคโลก ได้เดินทางล่องลงมาทางใต้ ถึงวัดบางนมโค มาเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อปาน จึงได้สอนให้รู้ถึง วิธีการปลุกเสกพระและวิธีสร้างพระตามตำราซึ่งเป็นของพระร่วงเจ้า ได้รับการสืบทอดมาจากอาจารย์ซึ่งเขียนไว้ว่า.. “ข้าพเจ้าได้รักษาตำราของพระอาจารย์ไว้แล้ว ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทุกอย่าง วิชาต่างๆ มีผลดีทุกประการ ถ้าบุคคลใดได้พบแล้วจะนำไปใช้ ให้บูชาพระอาจารย์ของท่าน แต่มิได้ระบุว่าเป็นใคร”

ท่านอาจารย์แจงได้นิมนต์หลวงพ่อปานไปในโบสถ์ตามลำพัง เพื่อถ่ายทอดวิชา ซึ่งนอกจากวิชาการปลุกเสกพระ และทำพระแล้ว ยังได้มหายันต์เกราะเพชร ซึ่งท่านก็ได้ใช้ยันต์เกราะเพชรนี้สงเคราะห์ผู้คนได้มากมาย

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน บันทึกโดยท่านฤาษีลิงดำ เขียนไว้ว่า “หลวงพ่อปานนิยมพระกัมมัฏฐาน หมายความว่า สิ่งที่ท่านต้องการที่สุดและปรารถนาที่สุด คือ พระกัมมัฏฐาน

เรื่องพระกัมมัฏฐานนี้เป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อปานจริงๆ ท่านเทิดทูนพระกัมมัฏฐานมาก ทั้งๆ ที่ทรงสมาบัติอยู่แล้ว ความอิ่ม ความเบื่อ ความพอใจในพระกัมมัฏฐานของท่านก็ไม่มี ท่านก็มีความปรารถนาจะเรียนพระกัมมัฏฐานให้มันดีกว่านั้น

สมัยนั้นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพิเศษ ในสมัยนั้นนะ สายอื่นฉันไม่ทราบ ก็มีหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี สมัยนั้นเรือยนต์มันก็ไม่มี ถ้าจะไปก็ต้องไปเรือแจว ถ้าไปเรือ แต่ทว่าทางเดินสะดวกกว่า เดินลัดทุ่งลัดนาลัดป่าไป ป่าก็เป็นป่าพงส่วนใหญ่ ท่านก็ใช้วิธีธุดงค์ สมัยนั้นวิธีธุดงค์เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เรียกว่าใกล้ค่ำที่ไหนปักกลดที่นั่น ชาวบ้านเขาเลี้ยงตอนเช้า ฉันอิ่มแล้วก็ไปกัน พระธุดงค์ฉันเวลาเดียว

ท่านบอกว่า เวลาที่ถึงวัดน้อยเขาร่ำลือกันว่า หลวงพ่อเนียมนี่เก่งมาก ท่านก็เข้าไปหาหลวงพ่อเนียม เข้าไปหานะไม่รู้จักหลวงพ่อเนียมหรอก ความจริงท่านก็คิดว่าหลวงพ่อเนียมท่านจะเป็นเหมือนหลวงพ่อองค์อื่นๆ ที่ท่านมีชื่อเสียงมาก นุ่งสบง จีวร เป็นปริมณฑล แล้วก็มักจะนั่งเฉยๆ ดีไม่ดีหลับตาปี๋ ก็หลับขยิบๆ เรียกว่าหลับ ไม่สนิทล่ะ คือ แกล้งหลับตาทำเคร่ง ที่นี้เวลาหลวงพ่อปานไปหาหลวงพ่อเนียม ก็ไปโดนดีเข้า เข้าไปแล้วเจอะหลวงพ่อเนียมที่ไหน ความจริง หลวงพ่อเนียมก็เดินคว้างๆ อยู่กลางวัดนั่นแหละ มีผ้าอาบน้ำ ๑ ผืน ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่า ผ้าอาบน้ำฝน สีเหลือง ผ้าอีกผืนแบบเดียวกันคล้องคอเดินไปรอบวัด

หลวงพ่อปานก็บอกว่า เมื่อท่านเห็นนะ ก็ไม่รู้หลวงพ่อเนียม เห็นพระแก่ๆ ผอมๆ นุ่งผ้าลอยชายผืนหนึ่ง เข้าไปถึงก็กราบๆ หลวงพ่อปานบอกว่า “เกล้ากระผมมาจากเมืองกรุงเก่าขอรับ กระผมจะมานมัสการหลวงพ่อ ขอเรียนพระกัมมัฏฐาน”

หลวงพ่อเนียมก็ทำท่าเป็นโมโห บอกว่า ไม่มีวิชาอะไรจะสอน พร้อมทั้งกล่าวขับไล่ไสส่งออกจากวัด หลวงพ่อปานก็นั่งทนฟังอยู่ ในที่สุดเห็นท่าจะไม่ได้เรื่อง ก็เลี้ยวหาพระในวัดไปขออาศัยนอน แล้วก็ถามว่า พระองค์นั้นน่ะชื่ออะไร พระท่านก็บอกว่า องค์นี้แหละชื่อ หลวงพ่อเนียม ล่ะ

พอวันรุ่งขึ้น หลวงพ่อปานก็เข้าไปหา ก็ถูกด่าว่าอีกอย่างหนัก ท่านยืนยันจะเรียนให้ได้ หลวงพ่อเนียม เลยสั่งว่า ๒ ทุ่ม ให้นุ่งสบงจีวรคาดสังฆาฎิไปหาในกุฏิ

พอตอนกลางคืน หลวงพ่อปานเข้าไปหาท่าน ปรากฏว่ารูปร่างท่านผิดไปมาก ผิวดำ ผอมเกร็งแบบเก่า ไม่มี ท่านนุ่งสบงจีวรพาดสังฆาฏิเหลืองอร่ามผิวกายสมบูรณ์ ร่างกายก็สมบูรณ์ หน้าตาอิ่มเอิบ รัศมีกายผ่องใส สวยบอกไม่ถูก

หลวงพ่อปานตรงเข้าไปกราบ ๓ ครั้งแล้วก็นั่งมอง ท่านก็นั่งมองยิ้มๆ แล้วท่านก็ถามว่า “แปลกใจรึคุณ” หลวงพ่อปานก็ยกมือนมัสการ บอกว่า “แปลกใจขอรับหลวงพ่อ รูปร่างไม่เหมือนตอนกลางวัน”

ท่านก็บอกว่า “รูปร่างน่ะคุณมันเป็นอนัตตา หาความเที่ยงแท้ไม่ได้ มันจะอ้วนเราก็ห้ามไม่ได้ มันไม่มีอะไรห้ามได้เลยนี่คุณ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนอนิจจัง เห็นไหม ไปเจอตัวอนิจจังเข้าแล้วซิ”

หลวงพ่อปานบอกว่า ตอนนี้ล่ะเริ่มสอนกัมมัฏฐาน อธิบายไพเราะจับใจฟังง่ายจริงๆ พูดได้ซึ้งใจทุกอย่าง เวลาท่านพูดคล้ายๆ ว่าจะบรรลุพระอรหันตผลไปพร้อมๆ ท่าน ท่านสอนได้ดีมาก พอสอนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอกให้ไปพักที่กุฏิอีกหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน แล้วเวลาทำกัมมัฏฐานกลางคืน หลวงพ่อปานวางอารมณ์ผิด ท่านจะร้องบอกไปทันที บอก “คุณปานเอ๊ย คุณปาน นั่นคุณวางอารมณ์ผิดแล้วตั้งอารมณ์เสียใหม่มันถึงจะใช้ได้” นี่หลวงพ่อปานบอกว่า ท่านมีเจโตปริยญาณแจ่มใสมาก

ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงพ่อเนียม ๓ เดือน แล้วจึงกลับ ก่อนหลวงพ่อปานจะกลับ หลวงพ่อเนียมก็บอกว่า “ถ้าข้าตายนะ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาแทนข้าได้ ถ้ามีอะไรสงสัยก็ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน”

หลวงพ่อปานได้เรียนคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อช่วงตอนปลายของชีวิต คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ท่านไปเรียนกับ ครูผึ้ง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตอนนั้นครูผึ้ง เป็นฆราวาส อายุ ๙๙ ปี เพราะได้ข่าวว่าครูผึ้งเป็นคนพิเศษ เวลาขอทานมาขอ ให้คนละ ๑ บาท สมัยนั้นเงิน ๑ บาท มีค่ามาก เงิน ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท สามารถสร้างบ้านได้ ๒ หลัง มีครัวได้ ๑ หลัง เวลาทำบุญแกจะช่วยรายละ ๑๐๐ บาท ไม่ใช่เงินเล็กน้อย เมื่อทราบข่าว หลวงพ่อจึงไปขอเรียนกับแก คาถาปัจเจกพุทธเจ้านี้ เรียกว่า คาถาแก้จน ท่านได้เรียนมาและพิมพ์แจกเป็นทานแก่สาธุชนนำไปปฏิบัติ และมีผลดีจบสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้

• กลับมาตุภูมิ
หลังจากที่หลวงพ่อปานได้เสร็จสิ้นการเรียนจากกรุงเทพฯ แล้วท่านก็หวนคิดถึงโยมมารดาที่ท่านจากมาถึง ๓ ปี จึงเดินทางกลับวัดบางนมโค พร้อมกับความรู้ที่ได้รับมา

ท่านได้ระลึกถึงว่า การเล่าเรียนของท่านลำบากมาก จึงอยากจะจัดสอนหนังสือแก่พระภิกษุสามเณรและบุตรธิดาชาวบางนมโค ให้มีความรู้ จึงนิมนต์พระภิกษุเกี้ยว ที่อยู่สำนักเดียวกับท่านมาด้วย เพื่อจัดสอนหนังสือ เมื่อมาถึงแล้วท่านก็นำมากราบนมัสการหลวงปู่คล้าย และได้ไปหาโยมมารดาให้ได้ชมบุญ

• อุปนิสัยและปฏิปทาของหลวงพ่อปาน
จากปากคำของผู้ทราบเคยอยู่ใกล้ชิดกับท่าน และเรื่องเล่าสืบต่อกันมา พอจะอนุมานได้ดังนี้ จากบันทึกของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ บันทึกไว้ว่า... “หลวงพ่อปานท่านมีลักษณะของชายชาตรีที่มีผิวพรรณขาวละเอียด ลักษณะสมส่วน เสียงดังกังวานไพเราะ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสชวนให้ศรัทธาปสาทะ เป็นอย่างยิ่ง ดวงตาบ่งบอกถึงความเมตตาปรานีในสัตว์โลกทั้งหลาย ต้อนรับผู้คนที่มาหาไม่เลือก เศรษฐี ผู้ดี ไพร่ ใครไปก็ไต่ถาม ว่ากันว่าถ้าหลวงพ่อพูดจากับผู้ใดแล้วนั้น มักจะจับจิตจับใจ ที่ใจชั่วมัวเมามาก็กลับตัว แม้แต่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาก็ยังหันมานับถือพระพุทธศาสนา”

ตลอดเวลาท่านจะไม่แสดงทีท่าว่าเหน็ดเหนื่อยหรือทำให้ผู้ที่มาหาเสื่อมศรัทธาเลย วันหนึ่งๆ จะมีคนมาหาท่าน เพื่อขอความช่วยเหลือนับเป็นจำนวนร้อยๆ คน ไหนจะให้รดน้ำมนต์ ไหนจะต้องพ่น ไหนจะขอยา ไหนจะมาปรึกษาถึงเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ

บางคนก็เรียกว่าหลวงพ่อ บางคนเรียกว่าหลวงปู่บ้าง เป็นเราๆท่านๆ น่ากลัวจะนั่งไม่ทน เพราะตั้งแต่เพลจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๔ หรือ ๕ ทุ่มนั่นแหละท่านถึงจะพักผ่อน และเป็นอย่างนี้อยู่ประจำทุกวัน จนกระทั่งท่านมรณภาพ

ท่านไม่ยินดียินร้ายในทางโลกธรรมแต่ประการใด คงปฏิบัติธรรมเหมือนพระแก่ๆ รูปหนึ่งที่ไม่ต้องการยศบรรดาศักดิ์ หรือชื่อเสียงดีเด่นแต่อย่างใด ท่านคงหวังแต่ทำหน้าที่ให้ความสุขสบายแก่พระสงฆ์และชาวบ้านทั่วไป ตามกำลังความสามารถเท่านั้น

หลวงพ่อปาน โสนันโท ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๘๑ สิริอายุ ๖๓ ปี พรรษา ๔๓

๏ คำสอนสุดท้ายของหลวงพ่อปาน ๚ะ๛
๏ ท่านบอกว่า #ลูกทุกคนเมื่อพ่อตายไปแล้วจงอย่าทิ้ง
กรรมฐานที่พ่อให้ไว้ เป็นกรรมฐานขององค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าถือว่าเป็นของพ่อ ต้องถือว่าเป็น
ของพระพุทธเจ้า ๚ะ๛

๏ ฆราวาสทุกคน อย่าทิ้ง #คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านะ {คาถาเงินล้าน} แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติจะเอาตัวไม่รอด แล้วจะมาโทษพ่อไม่ได้ เพราะสมบัติส่วนใหญ่พ่อให้ไว้หมดแล้ว คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ นิพพานสมบัติ พ่อให้หมดแล้ว ลูกทุกคนจงพยายามรักษาไว้ให้ดี ๚ะ๛

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)