ข่าวตามรอยตำนานท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เจ้าของตำนานพระชัยวัฒน์ยอดนิยมของเมืองไทย - kachon.com

ตามรอยตำนานท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เจ้าของตำนานพระชัยวัฒน์ยอดนิยมของเมืองไทย
ประวัติพระเกจิอาจารย์

photodune-2043745-college-student-s

ตามรอยตำนานท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เจ้าของตำนานพระชัยวัฒน์ยอดนิยมของเมืองไทย

ตามรอยตำนานท่านเจ้ามา พระเถราจารย์ผู้เข้มขลังมากด้วยตบะบารมีธรรม เจ้าของตำนานพระชัยวัฒน์ยอดนิยมของเมืองไทย พระพุฒาจารย์ เอนกสถานปรีชา ฯ (มา) พระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง

พระพุฒาจารย์ (มา อินทโร ) หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ท่านเจ้ามา เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 แห่งวัดจักรวรรดิ หรือ วัดสามปลื้ม ท่านเกิดวันที่ 13 เมษายน พ.ศ 2380 ที่อำเภอสามเพ็ง หรือ อำเภอสัมพันธวงศ์ในปัจจุบัน เมื่อเจริญวัยขึ้น บิดาตั้งชื่อว่า “ มา “ เมื่อเติบใหญ่ นายมาเป็นคนดุ คนจริง และ เป็นนักเลงใหญ่ไม่กลัวคน มีคนเกรงกลัวและ เป็นคนมีพวกมาก เมื่อคนเห็นนายมา ก็จะพูดว่า “จ้าวมาแล้ว” คำว่า “จ้าวมาแล้ว” นี่ต่อมาภายหลัง เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุ คนก็ชอบเรียกกันว่า “ท่านเจ้ามา” ครับ ท่านได้อุปสมบทที่วัดจักรวรรดิ ได้ศึกษาพระธรรมและเรียนวิปัสสนากรรมฐานจนแตกฉาน หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา และ เล่าเรียนวิชาไสยศาสตร์จากสำนักและวัดต่างๆ จนมีความเก่งกล้าในพุทธาคมอย่างยิ่ง

•ประวัติพระพุฒาจารย์ เดิมชื่อ มา ชื่อ อินทร์สร ในพระพุทธศาสนา เกิดในสกุลอุบาสกใจบุญ โยมผู้ชายชื่อ ทองอยู่ โยมผู้หญิงชื่อ แช่ม พระพุฒาจารย์เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๓๘๐ (รัตนโกสินทร์ศก ๕๖) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกานพศก (จุลศักราช ๑๑๙๙) ณ ตำบลบ้านเขาแหลม อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพฯ

ครั้นพระพุทธศักราช ๒๔๐๔ (รัตนโกสินทรศก ๘๐) ตรงกับปีระกา ตรีศก (จุลศักราช ๑๒๒๓) ท่านมีชนมายุได้ ๒๕ ปี จึงอุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส พระอาจารย์นอง วัดจักรวรรดิราชาวาส เป็นพระอุปัชฌายะ เจ้าอธิการแบน วัดบางกระสัน เป็น กรรมมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดบางกระสัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ต่อมาพระพุทธศักราช ๒๔๑๔ (รัตนโกสินทรศก ๙๐) ตรงกับปีมะเมีย โทศก (จุลศักราช ๑๒๓๒) ท่านมีชนมายุ ๓๕ ปี มีพรรษา ๑๐ พรรษา ได้เป็นปลัดในพระวรญาณมุนี (เสง) พระราชาคณะวัดจักรวรรดิราชาวาส (ซึ่งภายหลังเลื่อนเป็นพระโพธิวงษาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยา ปรินายก)

วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๒ (รัตนโกสินทรศก ๑๐๘) ตรงกับ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เอกศก (จุลศักราช ๑๒๕๑) ท่านมีชนมายุ ๕๓ ปี มีพรรษา ๒๘ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดย พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็นพระครูภาวนาวิจารน์ ผู้ช่วยกิจการในวัดจักรวรรดิราชาวาส มีนิตยภัตรเดือนละ ๑ บาท ๒ สลึง

วันที่ ๑๗ มีนาคม พระพุทธศักราช ๒๔๓๕ (รัตนโกสินทรศก ๑๑๑) ตรงกับ ณ วันศุกร์แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง จัตวาศก (จุลศักราช ๑๒๕๔) ท่านมีพระชนมายุ ๕๖ ปี มีพรรษา ๓๑ พรรษา ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรโดยพระบรมมหาบพิตร พระราชสมภารเจ้า พระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นพระมงคลทิพมุนี สถิตย์พระพุทธบาท เกาะสีชัง เจ้าคณะใหญ่แขวงเมืองสมุทรปราการ มีนิตยภัตรเดือนละ ๓ บาท ภายหลังได้เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๗ บาท ๒ สลึง

วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๖ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๒) ตรงกับ ณ วันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู เบญจศก (จุลศักราช ๑๒๗๕) วัน เดือน ปี นี้ ท่านมีชนมายุได้ ๗๗ ปี มีพรรษา ๕๒ พรรษา พระบรมมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องยศทหารปืนใหญ่ เสด็จประทับพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ตั้งสมณศักดิ์ พระราชทานหิรัญบัตร เลื่อนพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เพิ่มนิตยภัตรเป็นเดือนละ ๘ บาท มีนามตามจารึกในหิรัญบัตร และประกาศตั้ง ดังแจ้งต่อไปนี้

•ศุภมัสดุ พระพุทะศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๖ พรรษกาลปัตยุบัน จันทรโคจร อุสภสัมพัตสร บุศยมาศ สุกกปักษ์ จตุตถิดิถึ ภุมวาร สุริยคติกาล ธันวาคมมาส ติงสติมสุรทิน โดยกาลนิยม
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช ฯ บรมนารถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า พระมงคลทิพมุนี ประกอบด้วยวิริยอุตสาหในกิจอันเป็นคุณประโยชน์ในพระศาสนา ชำนาญในวิปัสนาธุระ เป็นพระอุปัชฌายะให้อุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันมาก มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เป็นทีชอบที่นับถือของชนทั้งหลาย เพราะขวนขวายสงเคราะห์ประชาราษฎร์ อันมีทุกข์ลำบากด้วยพยาธิทุกข์ และมรณภัยให้มีความสะดวกใจทุกสถาน เอาใจใสในการก่อสร้างแลปฏิสังขรณ์อารามวิหาร เป็นผู้รักษาการพระพุทธบาท ได้จัดการทำนุบำรุงให้มีความเจริญยิ่งขึ้น เป็นที่สะดวกสบายแก่สัปบุรุษ ผู้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทตาฤดูกาล และได้ชักชวนผู้มีศรัทธา ให้บริจาคทรัพย์ จัดการปฏิสังขรณ์พระมณฑปพระพุทธบาท อันชำรุดทรุดโทรมมาแต่ก่อน ให้ดีดังเดิมแล้วเสร็จบริบูรณ์ แล ขวนขวายในการที่จะให้เกิดประโยชน์ บำรุงพระอารามให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก บัดนี้ก็ประกอบด้วยพรรษายุกาลมีวัยวุฒิเป้นพระเถระผู้ใหญ่ สมควรจะพระราชทานเพิ่มสมณศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งอันสูงขึ้นได้ จึงทรงพระกรุณาแรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สถาปนาพระมงคลทิพมุนี เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เจ้าคณะอรัญวาสี มีนามตามจารึกในหิรัญบัตรว่า พระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชาวิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศราธิการ อภิบาลบทวลัญช์ อรัญวาสี สังฆนายก เจ้าคณะอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง สถิต ณ วัดจักรวรรดิ์ราชาวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีถานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒสมณาจารย์ ปรีชาญาณจาริก อรัญญิกสังฆนายกธุระวาหะ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูศัพทสุนทร ๑ พระครูอมรโกษิต ๑ พระครูธรรมรักขิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๘ รูป

วันที่ ๒๘ กันยายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคลมแน่นเสียด มีแพทย์หลวงและแพทย์เชยศักดิ์หลายนาย ประกอบยารักษาพยาบาล อาการมีแต่ทรงกับทรุด วันปวารณา เป็นวันเคยลงอุโบสถไม่ขาด ถึงกับลงอุโบสถไม่ได้ พระมงคลทิพมุนีครั้งยังเป็นพระธรรมวิหารีเถร พร้อมด้วยพระภิกษุถานาเปรียญที่เลิกจากปวารณาในอุโบสถแล้ว มาปวารณาที่กุฎีพระพุฒาจารย์อีกครั้ง ๑

ต่อมาวันที่ ๙ ตุลาคม พระพุทะศักราช ๒๔๕๗ (รัตนโกสินทรศก ๑๓๓) ตรงกับ ณ วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล ฉศก (จุลศักราช ๑๒๗๖) เวลา ๑๐ ทุ่ม ๓๐ นาที ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ มีชนมายุ ๗๘ ปี กับ ๑ เดือน ๒๒ วัน มีพรรษาได้ ๕๒ พรรษา

รุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงศพ ฝ่ายสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ มีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหาสังฆนายก เสด็จเป็นปราน แล้วมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จภายหลัง กับทั้งบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอีกมากที่ได้เสด็จและมาในวันนั้น ส่วนศพได้รับพระราชทานโกศ ๘ เหลี่ยม ฉัตร ๕ ชั้น ๔ คัน มีกลองชนะ เครื่องอินทร์ ๕ คู่ ปี่ไฉน ๑ คัน พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมประจำ ๑ สร้าง มีกำหนด ๑ เดือน เป็นเกียรติยศยิ่ง
ประวัติย่อพอสังเขปเพียงเท่านี้

----------------------

•เริ่มสร้างพระเครื่อง
เมื่อท่านได้สำเร็จวิชาและช่ำชองทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยเวทย์ต่างๆ แล้ว ได้เดินทางกลับมาวัดสามปลื้ม ได้รับการแต่งตั้งเป็น” พระปลัด “ และ ได้เป็นหัวแรงในการสร้างพระพุทธบาทจำลอง ที่วัดสามปลื้ม โดยระยะนี้ท่านได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปเนื้อโลหะในแบบพระชัยวัฒน์ หรือ พระกริ่ง แต่ไม่มีกริ่งบรรจุในองค์พระ

ในช่วงชีวิตของท่าน เป็นเรื่องแปลกที่ท่านเจ้ามามักเกี่ยวข้องกับ "พระพุทธบาท" เสมอ ไม่ว่าจะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนชั้นจาก “พระปลัด” โดยสมเด็จพ่อ รัชกาลที่ 5 ให้เป็น .”พระครูภาวนาวิจารย์ “ ในวันที่13 พฤษภาคม พ.ศ.2432 และ ได้ถูกนิมนต์ให้เป็นผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานที่ "เกาะสีชัง" เมื่อเสร็จงานเรียบร้อย แล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็น "พระมงคลทิพยมุนี" เจ้าคณะใหญ่แห่งเมืองสมุทรปราการ และ เป็นผู้รักษาพระพุทธบาทเกาะสีชังด้วย ท่านได้สร้างเหรียญพระพุทธบาทเกาะสีชังและเป็นผู้ปลุกเสกด้วยครับ ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรักษา "พระพุทธบาทจำลองที่สระบุรี" อีกด้วย จึงเป็นเรื่องประหลาดที่วิถีชีวิตของท่านเจ้ามา มักจะเกี่ยวข้องกับ "รอยพระพุทธบาท" เสมอ แสดงว่า ท่านเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง สมควรแก่การรักษา สิ่งที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ คือ พระพุทธบาท ครับ

•การปลุกเสกและพุทธคุณ
ท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวของท่านเอง มีคนนำไปใช้พบกับคุณวิเศษนานับประการ ทั้งในด้านคงกะพันชาตรี และ เมตตามหานิยม จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปอย่างมาก
ขนาดท่านบิดาของท่านเจ้าคุณนร สมัยที่เป็นนายอำเภอที่บางปลาม้า สุพรรณบุรี มีพระท่านเจ้ามาติดตัวองค์เดียว ถูกเสือร้ายชื่อดังยิงด้วยปืน แต่ปืนไม่ลั่น เสียงดังแชะๆ เรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นผู้เล่าให้บรรดาศิษย์ฟังครับ ลองคิดดูกันแล้วกันครับ ว่าถ้าพอมีกำลังควรหามาติดกายบูชาสักองค์หนึ่งไหม

•เนื้อพระ
ท่านสร้างพระด้วยโลหะผสม มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองผสม บางองค์ออกทองเหลืองประแจจีน ออกแดง ขันลงหิน หรือ แม้แต่เนื้อกลับดำ ก็มี แบบมีประกายเงินในแบบนวโลหะ หรือ ออกแก่ทองคำหรือ แก่เงิน หรือ แก่สำริดก็มีครับ แต่โดยทั่วไป เนื้อพระของท่านจะหนักไปทางทองเหลืองหรือทองแดง เพราะ ท่านมีเศษพระบูชาและ พวกโลหะทองเหลือง ทองแดงมากมายที่ได้จากการบูรณะรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี และ ที่วัดนี้ยังมีการหล่อพระบูชาสร้างพระพุทธรูปบูชาอีกด้วย พวกเศษทองเหลืองจึงมีมากครับ

•วัสดุที่มาสร้างเนื้อพระ
ส่วนสาเหตุที่เนื้อพระบางองค์กลับดำ ประกายเงิน หรือประกายทอง นั้น มีที่มาดังจะกล่าวต่อไปครับ ทำไมพระบางองค์จึงกลับดำ มีประกายเงิน หรือ ทอง ครั้งหนึ่งไฟได้ไหม้พระมณฑป อันเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี สิ่งของที่มีค่าราคาประเมินไม่ได้ เช่น เสื่อเงิน เสื่อทอง ม่านทอง ผ้าซึ่งประดับเพชรพลอย และ ของมีค่าราคาสูงของกษัตริย์โบราณหลายยุคหลายสมัยที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา ได้สูญสิ้นไปกับเพลิงไหม้ครั้งนั้น
ท่านได้เก็บเศษเสื่อเงิน เสื่อทอง ที่ไฟไหม้ และ เศษเงิน เศษทอง ที่ไฟไหม้ มาหล่อหลอมขึ้นมาเป็นเส้นทอง และ เส้นเงินใหม่ ในครั้งนั้น บางครั้งเศษเงินและทอง ก็กระเด็นออกจากเบ้าหลอม ท่านได้เก็บเศษโลหะเงินทองเหล่านั้น มาผสมกับเนื้อพระท่าน ทำให้ บางรุ่นเนื้อกลับดำออกประกายเงิน หรือ ประกายทองคำ นี่คือ ต้นกำเนิด พระเครื่องท่านเจ้ามาเนื้อกลับดำ มีประกายเงิน หรือ เนื้อประกายทองแก่ทองหรืออาจแก่เงินครับ

•ค่านิยม
พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา ถือ เป็นสุดยอดพระชัยวัฒน์อันดับหนึ่งของวงการ และ ถูกจัดให้อยู่ในทำเนียบเบญจภาคีชัยวัฒน์ อันประกอบไปด้วย พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิ พระชัยวฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พระชัยวัฒน์สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง และ สุดท้ายพระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ( แจ้ง)

•ความสัมพันธ์กันระหว่างท่านเจ้ามา สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ และ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ท่านเจ้ามาเปรียบเสมือนอาจารย์ เพราะก็เป็นคนถ่ายทอดและมอบตำราวิชาการสร้างพระกริ่งและชัยวัฒน์ แก่สมเด็จสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ และเข้าใจว่าได้ถ่ายทอดการสร้างพระชัยวัฒน์แก่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วด้วย เพราะ พระหลายพิมพ์ของปู่บุญ เป็นพระพิมพ์ที่คล้ายและในลักษณะเดียวกับเจ้ามาเลยทีเดียว สมเด็จสังฆราชแพ ท่านเจ้ามา และ ปู่บุญ ทั้งสามท่านนี้ มีความสนิทสนมกันในทางธรรมวินัยมาก ทำให้ การสร้างพระกริ่ง และ ชัยวัฒน์ของสามท่านนี้ เกี่ยวเนื่องจากตำราเดียวกันทุกประการ และ เป็นที่นิยมในวงการอย่างสูงยิ่ง แบบมีที่มา ไม่มีการปั่นใดๆ ทั้งสิ้นเพราะ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ที่สามารถพิสูจน์ได้ครับ พระแท้จริง ทำไมถึงนิยม ผมไม่คิดว่าเป็นกระแสการปั่น พระที่นิยมมานานตั้งแต่รุ่นเก่ารุ่นแก่ มักเป็นพระดีทั้งสิ้น เพราะ คนรุ่นเก่าเขาผ่านประสบการณ์อะไรมามากต่อมาก ย่อมทราบดีอะไรดีจริง ไม่ดีจริงครับ

กล่าวโดยสรุป ท่านเจ้ามา นอกจากจะเป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระกริ่งชัยวัฒน์โบราณสมัยอยุธยาในเข้ามาสู่เมืองไทยในยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยหลักฐานท่านได้รับตกทอดมาจากสมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ท่านเจ้ามาได้เป็นผู้ก่อกำเนิดตำนานพระชัยวัฒน์อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองไทย และท่านเคยมีดำริจะสร้างพระกริ่งตามตำรับเดิมที่ได้รับตกทอดมา เมื่อท่านอายุครบ 80 ปี แต่ท่านได้มรณภาพลงก่อนเมื่ออายุ 77 ปี ทำให้ตำรับดังกล่าวตกไปอยู่กับศิษย์ของท่านคือสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ และ ตำนานพระกริ่งอันยิ่งใหญ่จึงก่อกำเนิดที่วัดสุทัศน์แต่นั้นมา

นอกจากคุณวิเศษมหัศจรรย์ในพระชัยวัฒน์ที่ท่านปลุกเสกด้วยไสยเวทย์กล้าแกร่งแล้ว ในทางปฏิบัติ ท่านก็เป็นพระเถระที่เอาใจใส่ในวิปัสสนาธุระ และ นวกรรมนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุหนุ่ม จนถึงมรณภาพ ได้ทำชื่อ เสียงเกียรติคุณมาสู่วัดอันเป็นอเนกอนันต์ ดังปรากฏว่า มีผู้เคารพนับถือมาก ตั้งต้นแต่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ 5 เจ้านายขุนนางตลอดจนลงมาถึงประชาชนทั่วไป และ เมื่อท่านถึงแก่มรณภาพ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ประจำ 1 สร้าง มีกำหนด 1 เดือน เป็นเกียรติยศยิ่ง
-----------
ที่มารูปภาพ:คาถาครูพักลักจำ

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  พระครูพิสิฐสรวุฒิ เบอร์ 099-128-1871 ไอดีไลน์ 0991281871 หรือ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 083-846-3033 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ พระครูพิสิฐสรวุฒิ เบอร์ 099-128-1871 ไอดีไลน์ 0991281871 หรือ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 083-846-3033 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)