ข่าวชีวประวัติ​หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม - kachon.com

ชีวประวัติ​หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ประวัติพระเกจิอาจารย์

photodune-2043745-college-student-s

ชีวประวัติ​หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ชีวประวัติ​หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นชาวนครชัยศรี จ.นครปฐม โดยกำเนิด บิดาท่านมีนามว่า “นายฟัก” มารดามีนามว่า”นางยวง” อยู่ในตระกูล “พู่ระหง” ครอบครัวขององค์หลวงพ่อเปิ่นมีอาชีพทำนาอันเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในแถบนั้น

องค์หลวงพ่อเปิ่น ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๖ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้นหนึ่งค่ำ (๑) เดือนเก้า (๙) ครั้งนั้นในแถบถิ่นเมืองนครชัยศรี ได้มีทารกน้อยมาจุติ ซึ่งมากล้นด้วยบุญญาธิการ ด้วยลักษณะที่ผิวพรรณผ่องใส ผิดไปจากพี่น้องซึ่งอยู่ด้วยกันทั้งหมดเวลานั้น คือมีพี่ทั้งหญิงและชาย ๘ คน หลวงพ่อเป็นคนที่เก้า และต่อมาองค์หลวงพ่อจึงมีน้องที่เป็นหญิงเพิ่มมาอีกหนึ่งคน

ชีวิตปฐมวัยขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น นับว่าเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างเป็นที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในสมัยนั้นแถบถิ่นลุมน้ำนครชัยศรีอุดมไปด้วยวิชาอาคม อาจเนื่องด้วยไกลปืนเที่ยง ในตอนนั้นการเรียนรู้วิชาอาคมเอาไว้เพื่อป้องกันตัวจึงถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ชายทุกคนจักพึงมี หลวงพ่อเปิ่น องค์ท่านสนใจในเรื่องไสยศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเด็ก อาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระ ซึ่งในสมัยนั้นมีองค์พระคุณเจ้าที่จำพรรษา (รวมทั้งพี่ชายหลวงพ่อด้วย) ณ วัดบางพระ เก่งกาจในสายไสยศาสตร์มากหลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพราะความอยากรู้ อยากใฝ่หาในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ

ครั้นต่อมาครอบครัวย้ายไปตั้งรกรากทำมาหากินที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง ที่สุพรรณบุรีนี่เองที่เด็กชายเปิ่นได้ฉายแววเป็นนักเลงจริง เป็นคนจริงให้เห็น เพราะการอยู่ในดงนักเลงที่เป็นคนจริง จะต้องเป็นคนจริงไปด้วยโดยปริยาย เมื่อถึงจุดนี้ผู้ชายไทยใจนักเลงทุกคนจึงต้องหาอาจารย์ศึกษาทางด้านไสยเวทย์ เพื่อเอาไว้ป้องกันตัวเองบ้าง เป็นการเสริมสร้างบารมีให้แก่ตนเอง เด็กชายเปิ่นจึงต้องขวนขวายหาครูบาอาจารย์ผู้เรืองเวทวิชาอาคม ศึกษาหาวิชามาไว้ป้องกันตัวเองได้เวทมนตร์คาถาเอามาท่องจำ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอด

จนกระทั่งได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ขององค์ท่านหลวงพ่อแดงแห่งวัดทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ศิษย์เอกของท่านหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน องค์พระคุณเจ้าที่เก่งพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะเก่งกล้าเป็นอย่างมากทางด้านกัมมัฎฐานและไสยเวทย์ นี่เองคือจุดเริ่มความเก่งกาจของ เด็กชายเปิ่นจนถึงนายเปิ่นในกาลเวลาต่อมา

หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก องค์เสมือนจะทราบว่าเด็กชายเปิ่นคนนี้มีแววแห่งผู้ขมังเวทอย่างแน่นอน อีกทั้งจิตใจ อันใสบริสุทธิ์สะอาด ผนวกกับเป็นคนจริงท่านจึงได้ถ่ายทอดในสายวิชาของท่านพร้อมวิชา ไสยเวทย์ต่าง ๆ ให้กับเด็กชายเปิ่น

ด้วยความจำ ด้วยความที่ตนใฝ่หาทางนี้โดยตรง ความรู้ที่พระอาจารย์หลวงพ่อแดงมอบให้จึงตกอยู่ที่เด็กชายเปิ่นอย่างมากมาย ที่สำคัญในช่วงนั้นนั่นเองที่เด็กชายเปิ่นเจริญเติบโตเป็นนายเปิ่นได้มีความอยากรู้ อยากเรียน อยากทราบในสายพระเวทย์เหมือนองค์หลวงพ่อเปิ่น จึงเป็นที่ถูกคอกันยิ่งนัก ซึ่งต่อมาเพื่อนคนนี้ได้อุปสมบทเหมือนกัน มีนามว่าหลวงพ่อจำปา (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) เจ้าอาวาสวัดประดู่ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ฯ ซึ่งมีลูกศิษย์ ลูกหามากมาย

หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอกอยู่จนถึงเวลาที่ครอบครัวย้ายถิ่นฐานกลับสู่บางแก้วฟ้า จังหวัดนครปฐม อีกครั้ง ซึ่งตรงกับอายุครบเกณฑ์ทหารพอดี ในสมัยนั้นการเกณฑ์ทหารแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ทหารประจำการ กับ ทหารโยธา

สมัยนี้นี่เองที่นายเปิ่นได้รับการถ่ายทอด วิชาสักยันต์ อันเกรียงไกร โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระ แน่นอนที่สุดนี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตขององค์หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เพราะวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมาล้วนเป็นวิชาที่สุดยอดทั้งสิ้น หากมองย้อนกันกลับไป พระอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดบางพระในเวลานั้น หากเทียบกันในเรื่องไสยเวทย์คาถา จัดได้ว่าเป็นหนึ่งเป็นจิตจริงอันแน่วแน่ เพียงแต่องค์ท่านไม่ออกสู่สนามลองพระเวทย์สักเท่าใด อีกทั้งเรื่องยาสมุนไพรรักษาโรคก็นับว่าเป็นหนึ่งเหมือนกัน

ถือว่าเป็นวิชาพระคาถาอาคมที่ได้รับการสืบทอดความลึกลับกันมาตั้งแต่โบราณกาล ขณะนั้นนายเปิ่นได้เข้ารับใช้หลวงพ่อหิ่ม เพื่อความอยากเรียนในด้านไสยเวทย์จากองค์ท่านหลวงพ่อหิ่มนั่นเอง ซึ่งก็ได้รับความเมตตาเป็นอย่างดีจากท่านหลวงพ่อหิ่ม สายวิชาพระเวทย์ลึกลับตั้งแต่โบราณกาลจากองค์หลวงพ่อหิ่ม จึงถูกถ่ายทอดให้กับนายเปิ่นทั้งหมด

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นเพราะในช่วงที่หนุ่มแน่น นายเปิ่นเข้าออกวัดบางพระเกือบทุกเวลาจึงใกล้ชิดกับวัดอย่างดีที่สุด จนเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ซึ่งนายเปิ่นคิดไปว่า ต้องบวชเรียนเพื่อศึกษาในสายวิชาอย่างจริงจัง เมื่อมาถึงในขั้นตอนที่ต้องใช้จิตใจในส่วนของความสงบ นึกดังนั้นจึงขออนุญาตพ่อแม่ว่าอยากบวชเรียน ซึ่งทั้งสองคนต่างดีใจเป็นอย่างมาก ยินดีให้นายเปิ่นเข้าสู่บวรพุทธศาสนา

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ นายเปิ่นเข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยมี พระอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อยู่ ปทุมรัตน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เปลี่ยน จิตฺตธมฺโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ หลวงพ่อเปิ่น จึงเริ่มศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัย สิกขาบท ตามภาระหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ ที่สำคัญคือการศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม จากตำรับตำราโบราณที่พระอาจารย์หลวงปู่หิ่ม สอนให้อย่างตั้งอกตั้งใจ นอกจากท่องบ่นพระเวทย์มนตร์คาถาอาคมแล้ว หลวงพ่อเปิ่นยังได้รับการถ่ายทอดในสายอักขระโบราณเป็นรูปแบบของยันต์ต่าง ๆ การลงอาคมตามทางเดินของสายพระเวทย์จนเป็นที่ชำนาญ กล่าวกันว่าอักษร อักขระ ที่หลวงพ่อเปิ่นลงหรือเขียนนั้นสวยงาม มีเสน่ห์เป็นยิ่งนัก

ในช่วงเวลา ๔ ปีกว่า ๆ ที่หลวงพ่อเปิ่นศึกษาวิชาต่าง ๆ จากพระอาจารย์หลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต และอยู่ปรนนิบัติพระอาจารย์จนถึงกาลที่พระอาจารย์หลวงปู่หิ่มละสังขาร มรณภาพ ซึ่งนับเป็นศิษย์องค์สุดท้ายที่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต หลังจากที่พระอาจารย์มรณภาพ หลวงพ่อเปิ่นจึงได้ออกจาริกปฏิบัติธรรม แสวงหาสัจจธรรม และในจุดประสงค์ลึก ๆ ของหลวงพ่อเปิ่นนั้นต้องการแสวงหาพระอาจารย์เพื่อศึกษาพระเวทย์

ในช่วงนั้นมีพระอาจารย์องค์หนึ่ง โด่งดังมากในเรื่อง "เตโชกสิณ" นั่นคือ องค์หลวงพ่อโอภาสี จำพรรษาอยู่ที่วัดรังษี (เดิมอยู่ติดกับวัดบวรนิเวศน์ ต่อมาจึงยุบไปรวมกับวัดบวรนิเวศน์) หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ จึงเข้าไปฝากตัวศิษย์ หลวงพ่อโอภาสี ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส

ในครั้งนั้นหลวงพ่อเปิ่นเข้าศึกษากับพระอาจารย์หลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลาเกือบปี จึงกราบลาพระอาจารย์หลวงพ่อโอภาสี เพื่อออกธุดงค์ต่อไป ตามแนวของพระอาจารย์ หลวงพ่อเปิ่นเคยปรารภให้ศิษย์ฟังว่า

"อาตมาเรียนด้วย ปรนนิบัติท่านโอภาสีไปด้วย คงเป็นเพราะบุญบารมีของอาตมาที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนก็ว่าได้ จึงได้มีโอกาสศึกษากับท่านโอภาสี สำคัญมาก ๆ จริง ๆ และถ้าหากอาตมาไม่แสวงหาวิชาความรู้ต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินแล้วก็จะอยู่เพียงแค่นี้ไม่ก้าวหน้าต่อไป วิชาก็ไม่แน่นพอ ไม่ได้เห็นแสงสว่างของธรรมและยังไม่ได้เข้าถึงคุณวิชาความที่ต้องศึกษาจึงจำเป็นต้องไปเพื่อกาลข้างหน้าจะได้เป็นผู้รู้บ้าง แต่จะได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่บุญกุศลเถิดว่าจะสนองตอบเราได้เพียงใด"

ทราบกันเพียงว่าหลังจากองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นเข้ารับการถ่ายทอดในสายวิชาของ หลวงพ่อโอภาสีแล้วทำให้หลวงพ่อเปิ่นท่านทราบได้ถึงสายวิชาที่มีอยู่อย่างมาก ในภพหล้าของเมืองไทยอีกทั้งได้รับการชี้แนะ จากองค์ท่านหลวงพ่อโอภาสีถึงองค์พระภิกษุสงฆ์เจ้าที่เก่งในด้านวิชา ตามเส้นทางที่องค์ท่านหลวงพ่อโอภาสีท่านเคยจาริกแสวงมา

หลังจากที่กราบลาองค์พระอาจารย์หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อเปิ่นจึงออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าเขาลำเนาไพรอีกครั้ง โดยมุ่งหน้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นแหล่งใหญ่ของการปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาซึ่งป่าแถบเมืองกาญจนบุรี มีพร้อมสำหรับผู้แสวงหาสัจธรรมและความวิเวก

อีกทั้งองค์พระคุณเจ้าที่เก่งและเสาะหาในสายวิชาต่างมุ่งตรงสู่ป่าเขาในจังหวัดกาญจนบุรีกันเป็นส่วนมาก จึงเป็นโอกาสดีของการรับรู้และแลกเปลี่ยนในสายวิชาซึ่งกันและกัน

ช่วงนี้นี่เองที่ชีวประวัติองค์หลวงพ่อเปิ่น ได้หายไปจากเมือง ทราบเพียงว่าองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ท่านออกจาริกข้ามขุนเขาตะนาวศรี เข้าสู่เมืองมะริดของประเทศพม่าเข้าสู่บ้องตี้เซซาโว่ เกริงกาเวีย (พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๕๐๔ ) ซึ่งป่าแถบนั้นเป็นป่า ที่ซ่อนอาถรรพ์ลี้ลับนานาประการเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์อันตรายจากสิ่งลี้ลับ มนต์ดำแห่งป่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นเกิดความกลัวแต่อย่างใด กลับตรงกันข้ามท่านกลับมุ่งใจพุ่งองค์เองเข้าสู่แดนอาถรรพณ์มหันตภัยแห่งนี้ แน่นอนละ หากในสายวิชาไม่แข็ง หรือจิตไม่เพียบพร้อม ณ ป่านี้นี่เองที่องค์ธุดงค์วัตรหายไปอย่างลึกลับ มีมาแล้วจะเป็นด้วยไข้ป่า ผีป่า นางไม้ วิญญาณร้ายต่าง ๆ ที่สำคัญคือสัตว์ร้ายนานาชนิดที่มีอยู่อย่างมาก โดยเฉพาะ "เสือสมิง" ที่นี่มีตำนานที่เล่ากันมาตั้งแต่บรรพกาล ในส่วนของเสือร้ายที่สามารถกลับกลายแปลงร่างเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ที่ศึกษาวิชาทางด้านนี้ จนสามารถกลับกลายร่างตนเองเป็นเสือสมิงไป และไม่ได้กลับร่างมาเป็นคนอีก เป็นเรื่องจริง ในสายวิชาเร้นลับวิชาหนึ่ง

ในส่วนองค์หลวงพ่อเปิ่น ท่านไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงในส่วนนี้เลยแม้แต่น้อย จะเป็นด้วยเพื่อทดลองสายวิชาที่ได้เล่าเรียนมาหนึ่ง หรือเป็นด้วยองค์ท่านตัดทางจิตแล้วที่จะอุทิศตนเพื่อพระศาสนา ดังนั้นจิตอันสงบ จึงทำให้ไม่กลัวอะไรแม้แต่น้อย ช่วงนี้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นประวัติเงียบหายไปอย่างสนิทมีเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าเจอองค์ท่านบ้าง ชาวเขา ชาวป่า พวกกระเหรี่ยง บอกว่าเจอองค์ท่านและองค์ท่านได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวป่า ชาวเขามาแล้วบ้าง

เป็นดังนี้ กระทั่งปลาย พ.ศ. ๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยกลางคนมาปักกลดอยู่ชายป่าใกล้กับวัด ทุ่งนางหลอก อ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ที่นี่นี้เององค์พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง ทั้งสายวิชาสานยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน ยิ่งเข้ากราบยิ่งเป็นที่กล่าวขาน เกิดเป็นศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระคุณเจ้ารูปนี้ "หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ " คือองค์ธุดงค์องค์นั้น ประจวบกับวัดทุ่งนางหลอกซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีเจ้าอาวาสมีเพียงพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่สองสามรูป จนจะกลายเป็นวัดร้างอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าผู้ที่จะช่วยพัฒนาวัดทุ่งนาวัดนางหลอกให้กลับมาคืนมาอีกครั้ง คือองค์พระธุดงค์องค์นี้ จึงได้พร้อมกันนิมนต์องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นให้ท่านช่วยพัฒนาเสนาสนะต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเหมือนเดิมและให้องค์ท่านอยู่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เป็นที่พึ่งพาอาศัยของพวกเขาต่อไป

หลวงพ่อเปิ่นรับนิมนต์ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนางหลอก องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ใช้ความรู้ความสามารถขององค์ท่านทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับแถบถิ่น เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ พระคาถาอาคมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านเท่าที่จำเป็น เพียงระยะเวลาไม่นานที่องค์พระคุณเจ้าหลวงพ่อเปิ่นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนางหลอก การพัฒนาวัดรุดหน้าไปมาก เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างแปลกหูแปลกตา ทำให้ชื่อเสียงองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นเป็นที่รู้จักและเริ่มกระจายออกไปกว้างขึ้น ๆ จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ประจวบกับองค์ท่านมีจริยาวัตรอันงดงาม มีวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งมีวิชาอาคมที่เป็นเลิศ เพียงไม่ถึง 2 ปี ที่องค์ท่านจำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งนางหลอก จ.กาญจนบุรี วัดนี้เจริญขึ้นพอสมควร องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น จึงออกจาริกต่อไป นำพาซึ่งความอาลัยเสียดายแก่ชาวบ้านทุ่งนางหลอก เป็นยิ่งนัก
หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม

สู่วัดโคกเขมา หลังจากออกจากวัดทุ่งนางหลอก องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ จึงออกธุดงค์มุ่งสู่สมถะวิเวกอีกครั้งยาวนานร่วม 2 ปี โดยใช้เส้นทางวึ่งเป็นป่าดงดิบรกชัฏตามกาลสมัย ระหว่างทางองค์ท่านแวะพักที่วัดโคกเขมา ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ซึ่งก็ตรงกับจังหวะที่วัดโคกเขมา ไม่มีเจ้าอาวาสพอดิบพอดี วัดโคกเขมา นับว่าไกลปืนเที่ยงอยู่เหมือนกัน กันดารอยู่กลางป่า การเดินทางไปมาแสนลำบาก เมื่อชาวบ้านทราบว่ามีพระธุดงค์เข้ามาพักที่วัดและทราบต่อมาทราบว่าเป็นศิษย์ของหลวงปู่หิ่ม อินทฺโชโต ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์องค์หลวงพ่อเปิ่น ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา

หลวงพ่อเปิ่นจึงต้องรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมามาตั้งแต่กาลนั้น คณะสงฆ์ในตำบลแหลมบัว ออกประกาศและแต่งตั้งให้หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาสืบไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เมื่อเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกเขมาองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น จึงได้เริ่มพัฒนาวัด ก่อสร้างเสนาสนะซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกอย่างเกิดจากศรัทธาของประชาชนที่มีต่อองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นในเวลานั้น และที่วัดโคกเขมานี่เอง องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นท่านได้สร้างพระเครื่องเป็นครั้งแรก ปัจจุบันพระเครื่องรุ่นนี้ของวัดโคกเขมา หาเป็นสิ่งยากเพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์ สร้างอภินิหารให้ผู้ที่ครอบครองได้ประจักษ์

หลังจากรุ่นรูปหล่อเนื้อทองแดงของท่านแล้ว พระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ จากวัดโคกเขมาจึงออกมาเพื่อให้ศิษย์และประชาชนได้เช่าหาบูชากัน เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัดโคกเขมาทั้งหมด ที่วัดโคกเขมาองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นออกพระเครื่องทั้งเนื้อผง (สมเด็จ) ทั้งรูปหล่อ ทั้งเหรียญพระบูชา (พระสังกัจจายน์) ซึ่งชมได้จากภาพที่ได้จัดเรียงไว้อย่างครบครันในประมวลภาพพระเครื่องของวัดโคกเขมา (เล่มที่1) ทุกชิ้นทุกอย่างทุกองค์ในเวลานั้นดูมีค่ามากสำหรับชาวบ้านที่รับไป นั่นหนึ่งละที่เป็นเหตุให้ชื่อองค์ท่านหลวงพ่อขจรไกลไปทั่วแคว้น ทุกอย่างเกิดจากประสบการณ์ของผู้ใช้ทั้งสิ้น

จึงไม่แปลกเลยทีช่วงนั้น ณ กุฎิท่านวัดโคกเขมา ซึ่งมีพร้อมทั้งทางด้านไสยศาสตร์ ทั้งทางด้านปฏิบัติธรรม ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติจนเป็นที่เลื่อมใสแก่ผู้ที่มากราบไหว้พบเห็น ชนทุกเหล่าทุกนามที่ทราบข่าวต่างเข้ามากราบไหว้กันจนกุฎิไม่แห้ง ที่กล่าวขานกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น จวบปัจจุบันตั้งแต่วัดโคกเขมาเป็นต้นมานั่นคือ " การสักยันต์ " แน่ละหากกล่าวถึงหลวงพ่อเปิ่นในหมู่ของชายฉกรรจ์ตั้งแต่อดีตมาหากเป็นสมัยท่านแล้วละก็ ต้องยกนิ้วให้องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ในเรื่องของไสยศาสตร์เวทมนต์คาถาที่ส่งลงสู่ร่างของชายชาตินักสู้ในรูปแบบขององค์ท่านเอง

ทุกอย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมถึงขนาดมีข่าวคราวกระพือโหมไปทั่วว่า แม้สิ้นชีพไปแล้ว มีดผ่าตัดยังไม่สามารถเฉือนเนื้อลงได้เลย คงทราบกันดีแล้วนะครับในข่าวนี้ องค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นในสมัยที่องค์ท่านยังมิได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครู ฯ องค์ท่านลงมือสักลงอักขระเวทด้วยองค์ท่านเอง มาภายหลังที่ท่านประสิทธิ์ประสาทให้แก่ศิษย์เป็นผู้สักแทน องค์หลวงพ่อเพียงทำพิธีครอบให้เท่านั้น เรื่องการสักขององค์ท่านหลวงพ่อเปิ่นกล่าวกันเพียงบทสรุปองค์ท่านหลวงพ่อเปิ่น ท่านจะชอบ " เสือ " ด้วยเหตุผลที่องค์หลวงพ่อบอกเพียงสั้นแก่สานุศิษย์ว่า เสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ เพียงเสียงคำรามสัตว์ทั้งหลายก็สงบเงียบ กลิ่นของเสือสัตว์ทั้งหลายเมื่อสัมผัสจะยอมในทันที หลีกทันก็ต้องหลีก จัดอยู่ในมหาอำนาจ เสือรูปร่างสง่างาม เต็มไปด้วยอำนาจบารมีจัดอยู่ในมหานิยม

ในช่วงปี ๒๕๑๔ หลวงพ่อเปิ่นได้รับสมณศักดิ์เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมในพระอุดมสารโสภณ เป็นช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา อันเป็นเวลาที่วัดโคกเจริญรุดหน้าขึ้นอย่างสูงสุด

พ.ศ. ๒๕๒๒ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่พระครูฐาปนกิจสุนทร

พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบ้ตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมประชานาถ

หลวงพ่อเปิ่นมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๕๕ รวมอายุ ๗๙ ปี พรรษา ๕๔

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)