ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติพระเกจิอาจารย์
ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน)
วัดคลองมะดัน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง อยู่กลางทุ่งนา ในสมัยก่อนมีลำคลองผ่าน หน้าวัดและมีต้นมะดันขึ้นอยู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดคลองมะดัน แม้ว่าภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอัมพวัน แต่ชาวบ้านและคนใน จ.สุพรรณบุรี ทั่วๆ ไปยังนิยมเรียกชื่อเก่าว่า วัดคลองมะดัน เหมือนเดิม
หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ
เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อศึกษาธรรมวินัย หลวงพ่อโหน่งสังเกตเห็นเจ้าคุณมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ จึงเอ่ยปากถามว่า ท่านละกิเลสหมดแล้วหรือ ท่านเจ้าคุณบอกให้หลวงพ่อโหน่งเข้าไปดูในกุฏิว่ามีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งไปเห็นโต๊ะหมู่บูชาทำด้วยมุก โต๊ะหมู่ทอง งาช้าง และสิ่งของมีค่าอีกมากมาย เมื่อออกมาจากกุฏิ หลวงพ่อโหน่งกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม แล้วเดินทางไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ อุปัชฌาย์ของท่าน
หลวงพ่อโหน่ง ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้”
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและพระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับไปจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จิตใจวาบหวิวชอบกล จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะว่าอะไร หลวงพ่อเนียมพูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ! ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหร๊อก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งรู้สึกสบายใจขึ้น และก็มิได้เป็นอะไรอีกเลย
เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก
จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ฌานของหลวงพ่อแก่กล้า สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ พระทำผิดวินัย ท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเห็น พระที่ไปรุกขมูลทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็รู้ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดันโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ หลวงพ่อโหน่งสั่งลูกศิษย์เตรียมจัดที่จัดทางไว้ ว่าวันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้นและหล่อตามที่พระบอก เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ
หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด
แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ
เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน
หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์ บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย
ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลายๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุกๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้นๆ
พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อยๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุกๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน
เมื่อหลวงพ่อโหน่งมรณภาพแล้ว พระก็ยังเหลืออยู่ อาจารย์ฉวย ปัญญารตนะ เจ้าอาวาส รูปต่อมาก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ ของหลวงพ่อโหน่งทุกประการ คือ แจกพระหลวงพ่อโหน่งให้แก่ผู้ที่มาทำบุญเรื่อย มาจนอาจารย์ฉวยมรณภาพลง พระที่แจกก็ยังไม่หมด อาจารย์หนำ ยะสะสี เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็ได้แจกพระหลวงพ่อโหน่ง ตามเจ้าอาวาสรูปก่อน พระหลวงพ่อโหน่ง จึงได้หมดไปในที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระหลวงพ่อโหน่งสร้างไว้หลายพิมพ์และมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงว่าสร้างมากเท่าไร จะรู้เพียงว่าสร้างด้วยเนื้อดินเผาทั้งหมด นอกจากพระเครื่องชนิดเล็กๆ สำหรับห้อยคอติดตัวแล้ว หลวงพ่อโหน่ง ยังได้สร้างพระขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บูชาตั้ง ไว้ในบ้านอีกด้วย เช่น พระกำแพงศอกเนื้อดินเผาและพิมพ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระรูปเหมือนหลวงพ่อโหน่ง แบบลอยองค์แบบพระบูชา เนื้อทำด้วยปูน เป็นต้น โดยท่านจะเขียนคำอวยพรไว้ด้านหลังองค์พระเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ส่วนการสร้างพระของบรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างขึ้นไว้เป็น สมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะโดยได้ขออนุญาตให้หลวงพ่อโหน่ง ปลุกเสกให้ แต่มีจำนวนน้อยมากยากที่จะเสาะหาในปัจจุบัน เนื่องจากพระหลวงพ่อโหน่งมีของเทียมมาก เช่าหาโปรดจงระวัง
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖ โดยท่านมรณภาพในปางไสยาสน์แบบอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีวิชาพุทธาคมอันเข้มขลังอยู่ระดับแนวหน้าของประเทศไทย กล่าวกันว่า พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีพุทธคุณเด่นทางเมตตา มหานิยมมากและแคล้วคลาด จากอันตราย เป็นเลิศ จึงเป็นที่เสาะหาของบรรดานักสะสม เพื่อเอาไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งของประเทศไทย
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : fb ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม
.....
ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม
งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก
และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว
ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป
นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้
ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG
ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG
ทิพยจักร
18 ธค 2566
วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ
รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท
ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท
ลำดับที่ 3 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท
ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน)
รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี
4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม
7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)
รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)
ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์
รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส
คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์ ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์ ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)